สมาชิกในกลุ่ม Wonder Team
1. นางสาวดวงฤทัย ดีนัน
2. นางสาววรรณี ก้านแก้ว
3. นายกานท์พิพัฒน์ จุ้ยจิตต์
4. นางสาวสาวิตรี สวัสดิ์นทีทอง
5. นางสาวอารีรัตน์ ลิบไพรวัลย์
นักศึกษา คบ. 1 หมู่ 2
ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ
ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต (Internet) นั้นย่อมาจากคำว่า “International network” หรือ “Inter Connection network” ซึ่งหมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้เกิดการสื่อสาร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน โดยอาศัยตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน นั่นก็คือ TCP/IP Protocol ซึ่งเป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้
การที่มีระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และ เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนับเป็นอภิระบบเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่มาก มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก
ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตถือกำเนิดมาในยุคสงครามเย็น ระหว่างสหรัฐกับรัฐเซีย ในปี ค.ศ. 1960 ซึ่งกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นว่าระบบคอมพิวเตอร์สำหรับสั่งการต้องเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานได้ตลอดเวลา หากมีการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูที่เมืองใดเมืองหนึ่ง ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วนอาจถูกทำลาย แต่ส่วนที่เหลือทำงานได้ เป้าหมายการวิจัยและการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจึงกลายเป็นโครงการชื่อ ARPAnet หรือ Advance Research Project Agency net โดยมอบหมายให้กลุ่มมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ทำการวิจัยและเชื่อมโยงเครือข่าย
ในปี ค.ศ. 1983 ได้มีการนำ TCP/IP Protocol หรือ Transmission Control Protocol มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเป็นครั้งแรก จนกรทั่งได้กลายเป็นมาตรฐานในการติดต่อในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน
ในปี ค.ศ. 1986 มีการกำหนดชื่อโดเมน (Domain name System) เพื่อสร้างฐานข้อมูลในแต่ละเครือข่าย และใช้ ISP (Internet Service Provider) ในการจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ทั่วโลกล้วนแต่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึงกว่าเดิม
อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยที่เรียกว่า แคมปัสเน็ตเวิร์ก (Campus Network) ในปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือ AIT ภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย
ในปี พ.ศ. 2531 ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย ซึ่งก็ได้รับที่อยู่ Sritrang.psu.th ซึ่งเป็นที่อยู่อินเตอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย
หลังจากนั้นก็ได้มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9,600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/90636
อินเทอร์เน็ต (Internet)เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วที่สุดและปัจจุบั
ความหมายของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Network
อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace
ความหมายของอินเตอร์เน็ต
• ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดมหึมาที่เชื่อมโยงเอา
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ทั่วโลก เข้าไว้ด้วยกัน
เครือข่าย คือ ขื่อเรียกกลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ที่เชื่อมต่อกัน เพื่อให้สามารถแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ เช่นคอมพิวเตอร์
นสำนักงานมักเชื่อมต่อกันเพื่อให้สามารถใช้แฟ้นข้อมูลและเครื่องพิมพ์ร่วมกัน
กับคอมพิวเตอร์ทั้งหมดบนอินเตอร์เน็ตในอีกซีกโลกหนึ่งจะง่ายพอ ๆ กับการ
คุยกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในห้องติดกันเมื่อไรก็ตามที่คอมพิวเตอร์ของคุณต่อเข้ากับ
อินเตอร์เน็ตก็เปรียบเหมือนกับตัวแมงมุมกลางใยแมงมุมขนาดมหึมาซึ่งใยแมงมุม
แต่ละเส้น นำข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องนำมาสู่คอมพิวเตอร์ของคุณ
• ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อระบบต่างๆ จากทั่วมุมโลกเข้าด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งงานราชการและเอกชน ซึ่งมีข้อมูล
มากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
• อินเตอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Network
อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
ลักษณะของระบบอินเตอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace
ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chanthira&month=01-2008&date=17&group=1&gblog=32
นเป็นเครืความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อระบบต่างๆ จากทั่วมุมโลกเข้าด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งงานราชการและเอกชน ซึ่งมีข้อมูล
มากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ หรือหมายถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดมหึมาที่เชื่อมโยงเอา เครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ทั่วโลก เข้าไว้ด้วยกันเครือข่าย คือ ขื่อเรียกกลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกัน เพื่อให้สามารถแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ เช่นคอมพิวเตอร์นสำนักงานมักเชื่อมต่อกันเพื่อให้สามารถใช้แฟ้นข้อมูลและเครื่องพิมพ์ร่วมกันกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมดบนอินเตอร์เน็ตในอีกซีกโลกหนึ่งจะง่ายพอ ๆ กับการคุยกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในห้องติดกันเมื่อไรก็ตามที่คอมพิวเตอร์ของคุณต่อเข้ากับ อินเตอร์เน็ตก็เปรียบเหมือนกับตัวแมงมุมกลางใยแมงมุมขนาดมหึมาซึ่งใยแมงมุมแต่ละเส้น นำข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องนำมาสู่คอมพิวเตอร์ของคุณ
ที่มาของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตถูกพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 1969 ซึ่ง
หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายมีชือว่า APRA (Advanced Research PojectAgency
เครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้มีชื่อว่า อาร์พาเน็ต (ARPANET) เครือข่ายนี้สร้างขึ้น
เพื่อการใช้งานทางด้านการทหาร โปรโตคอลที่ใช้ชื่อว่า DARPA ต่อมา ARPA ได้สร้างมาตราฐานในการเชื่อมต่อขึ้นใหม่ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสาร
กันได้ จึงได้สร้างโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบันคือ TCP/IP
(Transmission Control Protocol/Internet Protocol) และเมื่อปี ค.ศ. 1989 มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "อินเตอร์เน็ต"
ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต
เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace
ความหมายและความสำคัญของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการค้าหรือ ISP (Internet Service Providers) ถือเป็นกระดูกสันหลังของอินเทอร์เน็ต ISP เป็นผู้บริหารจัดการคอมพิวเตอร์เครื่องหลักที่ใช้ต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตซึ่งเรียกกันว่า เซิร์ฟเวอร์ (Servers) เซิร์ฟเวอร์ถือเป็นจุดผ่านเข้าสู่อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ บริการทั้งหลายISP ให้บริการต่อสาย (dial-up access) เข้าไปสู่อินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงกลุ่มข่าว (newsgroups) อีเมล์หรือ ห้องสนทนา (chat) ได้ ผู้ใช้บริการสามารถ บันทึกข้อมูลแบบอัพโหลด หรือดาวน์โหลด โดยวิธีการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต และ ISPเป็นผู้ให้บริการกลไกสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลเหล่านี้หากมีใครต้องการสร้างเว็บไซต์ของตนเอง ISP จะเป็นผู้จัดสรรเนื้อที่และให้ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อช่วยให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลได้อย่างถูกต้องเมื่อมีคนขอผ่านเข้าไปดูISP จะเป็นผู้กำหนดหมายเลขที่อยู่ไอพี (IP - Internet Protocol) ให้แก่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่ใช้บริการที่อยู่ไอพี (IP Address) นี้คือหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ ที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต และเป็นตัวบอกเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ว่าจะค้นหาคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ได้ที่ไหน ISP มีระบบเก็บบันทึก IP Address และชื่อที่อยู่ของสมาชิกที่ใช้บริการ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะสืบสาวไปถึงตัวนักล่อลวงเด็กทางอินเทอร์เน็ตได้ แม้ว่าผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่นิยมจ่ายค่าบริการโดยบัตรเครดิตหรือให้ส่งใบเสร็จรับเงินไปตามที่อยู่บ้าน ซึ่งทำให้ทราบหลักฐานของผู้ใช้บริการ แต่มีหลายครั้งที่ผู้ใช้บริการจำนวนมากก็ใช้ระบบการจ่ายล่วงหน้า หรือหลายคนใช้การส่งตั๋วแลกเงินหรือใช้การส่งเอกสารผ่านที่อยู่ทางตู้โปรษณีย์ ทำให้ไม่สามารถสืบค้นหลักฐานของผู้ใช้บริการได้ ดังนั้น การตรวจ เบอร์โทรศัพท์ที่โทรเข้าไปที่ IP Address และเวลาที่โทรจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการดำเนินการทางกฎหมายกับอาชญากรรมที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือล่อลวงเด็ก มีหลายประเทศที่เริ่มให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยไม่คิดมูลค่า ไม่มีการคิดค่าต่อสาย มีเพียงเฉพาะค่าโทรศัพท์เท่านั้น บริการฟรีแบบนี้ไม่นิยมเก็บประวัติของผู้ใช้บริการเป็นหลักฐาน ดังนั้น จึงง่ายแก่การใช้หลักฐานปลอม ในกรณีที่มีการประกอบอาชญากรรมขึ้น ผู้รักษากฎหมายต้องอาศัยความร่วมมืออย่างเต็มที่จาก ISP เพื่อจับผู้ละเมิดกฎหมายซึ่งอาจเป็นผู้ใช้บริการที่อยู่ในเครือข่าย อย่างไรก็ตาม ISP อาจกลัวว่า หากเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการโดยไม่ได้รับอนุญาต จะเป็นการละเมิดต่อพันธกรรมที่มีต่อลูกค้า และอาจขัดกับหลักกฎหมายด้านสิทธิส่วนบุคคลด้วย หรือหมายถึงหน่วยงานที่บริการ ให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของบริษัท เข้ากับเครือข่าย อินเทอร์เน็ตทั่วโลก เสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ต้องการข้อมูลต่างๆ ก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง โดยการใช้บริการอินเตอร์เน็ต ผ่านผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วไป หลักการพิจารณา ISP นั้น ผู้เลือกใช้บริการ จำเป็นต้องศึกษาว่า ISP นั้นมีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูง มากเพียงใด มีสมาชิก ใช้บริการมากน้อยขนาดไหน เพราะปัจจัยต่างๆเหล่านี้ จะมีผลต่อความเร็ว ในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย
โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถ เลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ
• ซื้อชุดอินเทอร์เน็ต สำเร็จรูปตามร้านทั่วไปไปใช้
• สมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISPโดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียด ในการให้บริการของแต่ละที่นั้น จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด
อข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลกเว็บไซตซึ่งเป็นส่วนสำคัญของอินเทอร์เน็ตสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปของสื่
อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
ที่มาของอินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail)
2. สนทนา (Chat)
3. อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด
4. การติดตามข่าวสาร
5. การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล
6. การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์
7. การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ
8. การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์
9. การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์
10. การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning)
11. การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference)
12. โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP)
13. การอับโหลดข้อมูล
14. อื่นๆ
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก
ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 1.463 พันล้านคน (ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน 2551) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่างๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ ทวีปเอเชีย คิดเป็นร้อยละ 39.5 รองลงมาได้แก่ ทวีปยุโรป ร้อยละ 26.3 และอเมริกาเหนือ ร้อยละ 17.0 แต่หากจัดลำดับจำนวนผู้ใช้ตามประเทศ ประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 253 ล้านคน
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"
การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน).... ในปี 2550 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.04 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 26.8 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 9.32 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 15.5 เมื่อพิจารณาตามภาคพบว่า กรุงเทพฯ มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 40.2 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 29.9 รองลงมาคือ ภาคกลางมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 27.5 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 15.7 ภาคเหนือมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 26.0 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 15.6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 22.9 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 11.9 ภาคใต้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 25.2 และอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 12.7
ข้อมูลจาก
- http://th.wikipedia.org/
อประสม (multimedia) จำนวนเว็บไซต์มีอัตราการเพิ่มที่รวดเร็ว นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์แนวโน้มของอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวต์เว็บ (world Wide Web) ในอนาคตไว้ดังนี้ (Shelly Gary,1997)
- หน่วยงานธุรกิจจะใช้เว็บสำหรับการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)
- ภายในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า เว็บจะมีความเร็วถึง 100-1,000 เท่าเมื่อเทียบกับความเร็วที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
- ความสามารถของเว็บเบราเซอร์จะถูกรวมเข้าในซอฟต์แวร์ประยุกต์แทบทุกประเภท
- การใช้เว็บจะถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทุกระดับ
- ความสามารถของโปรแกรมเพื่อการค้นหาข้อมูล (Web search) จะมีความฉลาดมากขึ้น
จากตัวอย่างแนวโน้มของอินเทอร์เน็ตข้างต้นจะเห็นได้ว่า การใช้อินเทอร์เน็ตจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำธุรกิจต่าง ๆ จะมีการนำอินเทอร์เน็ตเช้ามาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลข่าวสาร หรือการทำธุรกิจและบริการ
ความหมายของอินเทอร์เน็ต การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้อธิบายความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer networks) ซึ่งหมายถึงกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อสื่อสารด้วย ฮาร์ดแวร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครือข่ายขึ้นไปที่เชื่อมต่อกัน จะเรียกว่า internetwork หรือ internet (สังเกตว่าจะใช้ i ตัวเล็ก) แต่ในภาษาอังกฤษคำว่า the Internet (ตัว I ใหญ่) จะหมายถึงกลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน และอนุญาตให้มีการเข้าถึงสารสนเทศและการบริการในรูปแบบของสาธารณะ (public access)
บทบาทของอินเทอร์เน็ตกับการศึกษา
• อาจกล่าวได้ว่า “อินเทอร์เน็ต” เป็นอุบัติการณ์ครั้งสำคัญของสังคมโลกในช่วงรอยต่อระหว่างศตวรรษ ปัจจัยหลักที่ทำให้อินเทอร์เน็ตเป็น “ปรากฏการณ์” (Phenomenon) ของยุคสมัยประกอบด้วย
• ความที่อินเทอร์เน็ตใช้เทคโนโลยีเครือข่าย TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ที่ใช้ง่าย ทำให้กลายเป็นบริการที่ประชาชนทั่วไปใช้ได้อย่างสะดวกโดย ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้าน โปรแกรมคอมพิวเตอร์
• ความที่อินเทอร์เน็ตเป็น “เครือข่ายแห่งเครือข่าย” (Network of Networks) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเสรี โดยไม่มีการปิดกั้น
• จุดดึงดูดของอินเทอร์เน็ตในการเผยแพร่และสืบค้นข้อมูลผ่านระบบ World Wide Web (WWW) ทำให้ปัจเจกบุคคลสามารถเผยแพร่ข้อมูลของตนเองต่อโลกได้ง่ายพอๆ กับการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ระบบทะเบียนที่อยู่ (Uniform Resource Locator URL) และ Search Engines ต่างๆ
• การสื่อสารผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E-mail) เป็นการปฏิวัติระบบการสื่อสารทั่วโลกด้วยความเร็ว และความแม่นยำ
• การแลกเปลี่ยนสาระความรู้ผ่านระบบ Bulletin Board และ Discussion groups ต่างๆ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างกว้างขวางและทั่วถึงมากขึ้น
• เทคโนโลยีของการรับส่งข้อมูลผ่านระบบ File Transfer Protocol (FTP) ทำให้การรับส่งข้อมูลตั้งแต่เอกสาร 1 หน้าไปจนถึงหนังสือทั้งเล่มเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และประหยัด
• พัฒนาการทางเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ตยังก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เช่น การใช้ Internet Phone, การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต
• อินเทอร์เน็ตเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ในรูปแบบของ “วาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” (Electronic Commerce) พร้อมๆ กับเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญ** ที่จะเปิดโลกทัศน์ใหม่ในวงการศึกษา
• รูปแบบของการสืบค้นข้อมูลของภาษา HTML (HyperText Markup Language) นอกจากความสะดวกและง่ายต่อการใช้แล้วยังเป็นสภาพแวดล้อม ที่อาจมีผลทางจิตวิทยา ให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลลึกลงไปเป็นชั้นๆ ด้วยคุณสมบัติของ Web Browser ในอินเทอร์เน็ต
จากคุณสมบัติและปัจจัยต่างๆ ที่อินเทอร์เน็ตมีให้แก่ผู้ใช้นั้น เป็นโอกาสในการนำมาใช้ประโยชน์ทางการศึกษาในรูปแบบต่างๆ กล่าวโดยรวมแล้วสาระสำคัญของบทบาทอินเทอร์เน็ตต่อภาคการศึกษามี ประเด็นดังต่อไปนี้
เปิดโอกาสให้ครู อาจารย์ และนักเรียน นักศึกษา สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ที่หลากหลายหรืออีกนัยหนึ่งมี “ห้องสมุดโลก” (Library of the World) เพียงปลายนิ้วสัมผัส
ดังตัวอย่างรูปธรรมต่อไปนี้
• ครู และนักเรียนสามารถค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั่วโลก โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านสถานที่และเวลา (Anywhere & Anytime) โดยครู อาจารย์อาจจะเตรียมการสอนได้สมบูรณ์ขึ้น ในขณะที่นักเรียน นักศึกษาสามารถค้นคว้าหาข้อมูลได้สะดวกและหลากหลายมากขึ้น
• คณาจารย์และนักเรียนที่ด้อยโอกาสอันเนื่องมาจากความห่างไกล ทุรกันดาร ขาดแหล่งห้องสมุดที่ดี สามารถก้าวกระโดดในการหาข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่าง เท่าเทียมมากยิ่งขึ้น จะมีโอกาสใดในประวัติศาสตร์ การเรียนรู้ที่ครูและนักเรียนของโรงเรียนสบเมยวิทยาคม จังหวัดแม่ฮ่องสอนสามารถศึกษาค้นคว้าเรื่อง สงครามอ่าวเปอร์เซีย จากโปรแกรม CNN Newsroom (http://www.nmis.org/NewsInteractive/CNN/Newsroom) หรือข้อมูลการรักษาสิ่งแวดล้อมของ US-EPA จาก Library of Congress ของรัฐสภาอเมริกา (http://www.lcweb.loc.gov) เป็นต้น
เด็กนักเรียนเองสามารถร่วมกันผลิตข้อมูลในแขนงต่างๆ อาทิเช่น ข้อมูลพันธุ์พืชของสิ่งแวดล้อมโดยรอบโรงเรียน ข้อมูลศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยน กับเด็กทั่วโลก ในขณะที่ครูสามารถนำเนื้อหาทางวิชาการที่มีประโยชน์ เช่น บทความทางวิชาการ เอกสารการสอน ฯลฯ ลงใน Web เพื่อแลกเปลี่ยนภายในวงการครู เป็นต้น
เปลี่ยนบทบาทของครูและนักเรียน
ด้วยนัยของการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้จะทำให้บทบาทของ ครูปรับเปลี่ยนไปจากการ เน้นความเป็น “ผู้สอน” มาเป็น “ผู้แนะนำ” (Facilitator) มากขึ้น ในขณะที่กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนจะเป็นการเรียนรู้ “เชิงรุก” มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากฐานข้อมูล ในอินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญประการหนึ่งที่เอื้ออำนวยให้ เด็กนักเรียนสามารถเรียนและค้นคว้าด้วยตนเอง (independent learning) ได้สะดวกรวดเร็วและมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามมีความจำเป็นที่จะต้องตระหนักว่าบทบาทและรูปแบบ ที่จะปรับเปลี่ยนไปนี้ จะต้องมีการเตรียมการที่ดีควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของครูที่จะต้องวางแผนการ “ชี้แนะ” ให้รัดกุมเพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กมีประสิทธิผลดีขึ้น จากการเรียนตามครูสอน (passive learning) มาเป็นการเรียนรู้วิธีเรียน (Learning How to Learn) และการเรียนด้วยความอยากรู้ (active learning) อย่างมีทิศทาง
พัฒนาการสื่อสารระหว่างครูและนักเรียน
ผลสืบเนื่องจากการที่อินเทอร์เน็ตสามารถให้บริการไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็ว และง่ายในการใช้ทำให้เกิดการสื่อสาร (communications) เพิ่มมากขึ้นในระบบการศึกษา ทั้งที่เป็นการสื่อสารระหว่างครูกับครู ครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนกับนักเรียนกันเอง ทั้งนี้โดยมิได้ลดทอนการสื่อสารในรูปแบบเดิม ปัจจุบันคณาจารย์หลายท่านในหลายสถาบันในประเทศไทยใช้อินเทอร์เน็ต เป็นสื่อกลาง ในการให้การบ้าน รับการบ้าน และตรวจส่งคืนการบ้าน ในขณะเดียวกันการสื่อสารระหว่างนักเรียนสามารถช่วยส่งเสริมการทำงาน กลุ่ม การปรึกษาหารือกับครูและเพื่อนนักเรียน ในเชิงวิชาการ ตลอดจนการติดต่อกับเพื่อนชาวต่างประเทศ ที่มีโอกาสมากขึ้นเป็นลำดับ
การศึกษาทางไกล (Distance Learning)
ความหมาย คือ สื่อการเรียนการสอนทางไกลซึ่งผู้เรียนจะเรียนด้วยตัวเองที่บ้าน โดยไม่ต้องเดินทางไปเรียนยังสถาบันการศึกษา และสมัครเรียนได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาเท่านั้น
สาเหตุและปัจจัยสำคัญที่ ทำก่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาในรูปแบบของ "การศึกษาทางไกล หรือการศึกษาไร้พรมแดน" คือ การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี การผสมผสานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ก่อให้เกิดเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาวะการขยายตัวอย่างรวดเร็วของประชากร ทำให้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ต้องขยายพื้นที่การจัดการศึกษาเพิ่มมากขึ้น
การศึกษาทางไกล (Distance Learning) จึง หมายถึงการเรียนการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกัน ใช้วิธีการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและประสบการณ์โดยอาศัยสื่อประสมในหลายรูปแบบ ได้แก่ สื่อที่เป็นหนังสือ สื่อทางไปรษณีย์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ การประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง (Video Conference) อินเตอร์เน็ต (Internet) และการสอนเสริม เป็นต้น รวมทั้งการใช้ศูนย์บริการการศึกษาเป็นหลัก ช่วยให้ผู้เรียนที่อยู่ต่างถิ่นต่างที่กันสามารถศึกษาหาความรู้ได้
การศึกษาทางไกล เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่เกิดขึ้นในสมัยศตวรรษที่ ๒๐ เพื่อสนองความต้องการของสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมข่าวสาร หรือสังคมของการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม เป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาไปสู่บุคคลกลุ่มต่าง ๆ อย่างทั่วถึง ทำให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิต ที่บุคคลสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่อง
ความสำคัญของการศึกษาทางไกล
1. เป็นการเพิ่มทางเลือกในการกระจายโอกาส และยกระดับการศึกษาของผู้เรียน
2. เป็นตัวการเปลี่ยนแปลงกระบวนวิธีการเรียนรู้และการจัดการศึกษาของสังคมในปัจจุบันและอนาคต
3. ช่วยสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ ขณะเดียวกันก็ช่วยลดอุปสรรคด้านทรัพยากร สถานที่ เวลา และบุคลากร
4. ช่วยลดภาระของครูทั้งในด้านการเตรียมการ การใช้เวลา และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียน การสอนให้มีคุณภาพ
5. การเรียนการสอนทางไกลสามารถ "แพร่กระจาย" และ "เข้าถึง" ตัวบุคคลได้อย่างหลากหลายและกว้างขวาง
องค์ประกอบหลักของการศึกษาทางไกล
1. ผู้เรียน จะเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนมีอิสระในการกำหนดเวลา สถานที่ และวิธีเรียนของตนเอง โดยสามารถเรียนรู้ได้จากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น จากการสอนโดยผ่านการสื่อสารทางไกล วีดิทัศน์ที่ผลิตเป็นรายการ วีดิทัศน์ที่บันทึกจากการสอน ตำรา หนังสือ เอกสารประกอบการสอนในรูปของบทเรียนด้วยตนเอง คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
2. ผู้สอน จะเน้นการใช้สื่อการสอนที่มีคุณภาพและหลากหลายรูปแบบซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง หรือ
เรียนเสริมในภายหลัง เนื่องจากผู้สอนมีโอกาสพบผู้เรียนโดยตรงน้อยมาก คือมีโอกาสพบปะผู้เรียนแบบเผชิญหน้าในตอนแรกและตอนท้ายของภาคเรียน หรือไปสอนเสริมในบางบทเรียนที่พิจารณาเห็นว่ายากต่อการเข้าใจเท่านั้น
3. การจัดระบบบริหารและบริการ เป็นการจัดโครงสร้างอื่นมาเสริมการสอนทางไกลโดยตรง เช่น อาจมีครูที่ปรึกษาประจำตัว ผู้เรียน มีศูนย์บริการการศึกษาที่ใกล้ตัวผู้เรียน รวมทั้งระบบการผลิตและจัดส่งสื่อให้ผู้เรียนโดยตรงอย่างมีประสิทธิภาพ
4. การควบคุมคุณภาพ จะจัดทำอย่างเป็นระบบ และดำเนินการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยเน้นการควบคุมคุณภาพในด้านองค์ประกอบของการสอนทางไกล เช่น ขั้นตอนการวางแผน กระบวนการเรียนการสอน วิธีการประเมินผล และการปรับปรุงกระบวนการ เป็นต้น
5. การติดต่อระหว่างผู้เรียน ผู้สอน และสถาบันการศึกษา เป็นการติดต่อแบบ ๒ ทาง โดยใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์
อิเล็กทรอนิกส์ หรือจดหมาย เป็นต้น
ลักษณะของการศึกษาทางไกล
1. การเรียน- การสอน การ ศึกษาทางไกลต้องอาศัยครู และอุปกรณ์การสอนที่สามารถใช้สอนนักเรียนได้มากกว่า ๑ ห้องเรียน และได้ในหลายสถานที่ เช่น วิชาพื้นฐาน ทำให้ไม่ต้องจ้างครูและซื้ออุปกรณ์สำหรับการสอนในวิชาเดียวกันของแต่ละแห่ง และครูสามารถเลือกให้นักเรียนแต่ละแห่งถามคำถามได้ เนื่องจากแต่ละห้องมีขนาดไม่ใหญ่นัก และจำนวนนักเรียนก็มีไม่มากนัก โดยมีอุปกรณ์ช่วยในการโต้ตอบ เช่น ไมโครโฟน กล้องวีดิทัศน์ และจอภาพ เป็นต้น
2. การถาม - ตอบ หากนักเรียนมีปัญหาข้อสงสัย อาจสามารถถามครูได้โดยผ่านโทรศัพท์ หรือผ่านกล้องโทรศัพท์ หรือผ่านกล้องวิดีทัศน์ในระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) ในขณะที่เรียน หรือส่งโทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ์ไปถามได้ในภายหลัง หรือครูอาจจะนัดเวลาเป็นการเฉพาะเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม การถามตอบในลักษณะนี้ จะทำให้ครูจะมีเวลามากขึ้นในการค้นคว้าเพื่อส่งคำตอบกลับไปให้ทำเรียนในภาย หลัง
3. การประเมินผล ผู้เรียนสามารถส่งการบ้านและการทดสอบได้ทางไปรษณีย์ โทรสาร หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ทั้งนี้รูปแบบและวิธีการประเมินผลจะต้องได้รับการออกแบบเฉพาะ หรืออาจจะใช้การประเมินผลในรูปแบบปกติในห้องเรียน (ให้ผู้เรียนไปทดสอบ ณ สถานที่ที่จัดไว้ไห้) เพื่อผสมผสานกันไปกับการเรียนทางไกล
ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก เพราะทำให้วิถีชีวิตเราทันสมัยและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตจะมีการเสนอข้อมูลข่าวปัจจุบัน และสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ผู้ใช้ทราบเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน สารสนเทศที่เสนอในอินเทอร์เน็ตจะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อสนองความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ทุกกลุ่ม อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญสำหรับทุกคนเพราะสามารถค้นหาสิ่งที่ตนสนใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปค้นคว้าในห้องสมุด หรือแม้แต่การรับรู้ข่าวสารทั่วโลกก็สามารถอ่านได้ในอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ของหนังสือพิมพ์
ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงมีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็นอย่างมากในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการธุรกิจ การศึกษา ต่างก็ได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น
ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงมีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็นอย่างมากในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการธุรกิจ การศึกษา ต่างก็ได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อมูลและสารสนเทศ การประมวลผลและการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ ซอฟต์แวร์ บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หลักการแก้ปัญหา หรือสร้างงาน การออกแบบงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ การโปรแกรมขั้นพื้นฐาน อินเตอร์เน็ต ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป แนะนำการใช้ โปรแกรมสำเร็จสำเร็จ เช่น โปรแกรมประมวลคำ โปรแกรมกราฟิก โปรแกรมตารางทำงาน โปรแกรมการจัดการข้อมูล จริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ |
ศึกษาและปฏิบัติการ เกี่ยวกับ บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อมูลและสารสนเทศ การประมวลผลและการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ ซอฟต์แวร์ บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หลักการแก้ปัญหา หรือสร้างงาน การออกแบบงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ การโปรแกรมขั้นพื้นฐาน อินเตอร์เน็ต ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป การใช้โปรแกรมสำเร็จสำเร็จ เช่น โปรแกรมประมวลคำ โปรแกรมกราฟิก โปรแกรมตารางทำงาน โปรแกรมการจัดการข้อมูล เบื้องต้น จริยธรรมและคุณธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ |
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการทำงาน บทบาท และประโยชน์ของระบบคอมพิวเตอร์ เข้าใจหลักการเบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีความรู้พื้นฐานทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศได้ เข้าใจหลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าใจหลักการทำโครงงานที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ค้นหาข้อมูล ความรู้และติดต่อสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสม ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงาน หรือโครงงานจากจินตนาการ หรืองานที่ทำในชีวิตประจำวันอย่างมีจิตสำนึกและมีความรับผิดชอบ ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงาน หรือโครงงานจากจินตนาการ หรืองานที่ทำในชีวิตประจำวันอย่างมีจิตสำนึกและมีความรับผิดชอบ |
ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนชุมชนเมืองแห่งใหม่ของโลก เป็นชุมชนของคนทั่วมุมโลก จึงมีบริการต่างๆเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา
1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic mail=E-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail
เป็นการส่งจดหมายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้ส่งสสามารถส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ ในรูปแบบของอีเมล์ เมื่อผู้ส่งเขียนจดหมาย แล้วส่งไปยังผู้รับ ผู้รับจะได้รับจดหมายภายในเวลาไม่กี่วินาที แม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสามารถส่งแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์แนบไปกับอีเมล์ได้ด้วย
2.กรขอเข้าระบบจากระยะไกลหรือเทลเน็ต(Telnet)
เป็นบริการอินเน็ตรูปแบบหนึ่งโดยที่เราสามารถเข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกลๆได้ด้วยตนเอง เช่น ถ้าเราอยู่ที่โรงเรียนทำงานโดยใช้อินเตอร์เน็ตของโรงเรียนแล้วกลับไปที่บ้าน เรามีคอมพิวเตอร์ที่บ้านและต่ออินเตอร์เน็ตไว้เราสามารถเรียกข้อมูลจากที่โรงเรียนมาทำที่บ้านได้ เสมือนกับเราทำงานที่โรงเรียนนั่นเอง
3.การโอนถ่ายข้อมูล(File Transfer Protocol หรือ FTP) เป็นบริการอีกรูปแบบหนึ่งของระบบอินเตอร์เน็ต เราสามารถค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
4.การสืบค้นข้อมูล(Gopher,Archie,World wide Web) หมายถึง การใช้เครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมายแล้วช่วยจัดเรียงข้อมูลข่าวสารหัวข้ออย่างมีระบบ เป็นเมนู ทำให้เราหาข็อมูลได้ง่ายหรือสะดวกมากขึ้น
5.การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet) เป็นการให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วโลกสามารถพบปะกัน แสดงความคิดเห็นของตน โดยมีการจัดการผู้ใช้เป็นกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นหัวข้อต่างๆ เช่น เรื่องหนังสือ เรื่องการเลี้ยงสัตว์ ต้นไม้ คอมพิวเตอร์และการเมือง เป็นต้น ปัจจุบันมี Usenet มากกว่า15,000 กลุ่ม นับเป็นเวทีขนาดใหญ่ให้ทุกคนจากทั่วมุมโลกแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
6.การสื่อสารด้วยข้อความ(Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ไดัรับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แต่ละคนก็พิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาได้ในเวลาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
7.การซื้อขายสินค้าและบริการ(E-Commerce = Eletronic Commerce) เป็นการจับจ่ายซื้อ - สินค้าและบริการ เช่น ขายหนังสือ คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว เป็นต้น ปัจจุบันมีบริษัทใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกิจและให้บริการลูกค้าตลอด24ชั่วโมง ในปี2540 การค้าขายบนอินเตอร์เน็ตมีมูลค่าสูงถึง1แสนล้านบาท และจะเพิ่มเป็น1ล้านล้านบาทในอีก5ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจแบบใหม่ที่น่าสนใจและเปิดทางให้ทุกคนเข้ามาทำธุรกิจได้โดยใช้ทุรไม่มากนัก
8.การให้ความบันเทิง(Entertain) ในอินเตอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงในทุกรูปแบบต่างๆ เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด24ชั่วโมงและจากแหล่งต่างๆทั่วทุกมุมโลก ทั้งประเทศไทย อเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย เป็นต้น
เป็นการส่งจดหมายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้ส่งสสามารถส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ ในรูปแบบของอีเมล์ เมื่อผู้ส่งเขียนจดหมาย แล้วส่งไปยังผู้รับ ผู้รับจะได้รับจดหมายภายในเวลาไม่กี่วินาที แม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสามารถส่งแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์แนบไปกับอีเมล์ได้ด้วย
2.กรขอเข้าระบบจากระยะไกลหรือเทลเน็ต(Telnet)
เป็นบริการอินเน็ตรูปแบบหนึ่งโดยที่เราสามารถเข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกลๆได้ด้วยตนเอง เช่น ถ้าเราอยู่ที่โรงเรียนทำงานโดยใช้อินเตอร์เน็ตของโรงเรียนแล้วกลับไปที่บ้าน เรามีคอมพิวเตอร์ที่บ้านและต่ออินเตอร์เน็ตไว้เราสามารถเรียกข้อมูลจากที่โรงเรียนมาทำที่บ้านได้ เสมือนกับเราทำงานที่โรงเรียนนั่นเอง
3.การโอนถ่ายข้อมูล(File Transfer Protocol หรือ FTP) เป็นบริการอีกรูปแบบหนึ่งของระบบอินเตอร์เน็ต เราสามารถค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
4.การสืบค้นข้อมูล(Gopher,Archie,World wide Web) หมายถึง การใช้เครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมายแล้วช่วยจัดเรียงข้อมูลข่าวสารหัวข้ออย่างมีระบบ เป็นเมนู ทำให้เราหาข็อมูลได้ง่ายหรือสะดวกมากขึ้น
5.การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet) เป็นการให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วโลกสามารถพบปะกัน แสดงความคิดเห็นของตน โดยมีการจัดการผู้ใช้เป็นกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นหัวข้อต่างๆ เช่น เรื่องหนังสือ เรื่องการเลี้ยงสัตว์ ต้นไม้ คอมพิวเตอร์และการเมือง เป็นต้น ปัจจุบันมี Usenet มากกว่า15,000 กลุ่ม นับเป็นเวทีขนาดใหญ่ให้ทุกคนจากทั่วมุมโลกแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
6.การสื่อสารด้วยข้อความ(Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ไดัรับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แต่ละคนก็พิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาได้ในเวลาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
7.การซื้อขายสินค้าและบริการ(E-Commerce = Eletronic Commerce) เป็นการจับจ่ายซื้อ - สินค้าและบริการ เช่น ขายหนังสือ คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว เป็นต้น ปัจจุบันมีบริษัทใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกิจและให้บริการลูกค้าตลอด24ชั่วโมง ในปี2540 การค้าขายบนอินเตอร์เน็ตมีมูลค่าสูงถึง1แสนล้านบาท และจะเพิ่มเป็น1ล้านล้านบาทในอีก5ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจแบบใหม่ที่น่าสนใจและเปิดทางให้ทุกคนเข้ามาทำธุรกิจได้โดยใช้ทุรไม่มากนัก
8.การให้ความบันเทิง(Entertain) ในอินเตอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงในทุกรูปแบบต่างๆ เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด24ชั่วโมงและจากแหล่งต่างๆทั่วทุกมุมโลก ทั้งประเทศไทย อเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย เป็นต้น
โทษของอินเตอร์เน็ต
1.โรคติดอินเทอเน็ต(Webaholic) อินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ?
การเล่นอินเตอร์เน็ต ทำให้คุณเสียงาน ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเตอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) ผู้ที่มีอาการอย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต
• รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
• มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
• ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
• รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
• ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใช้อินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
• หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
• การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
• มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
• ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้
มีผล กระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ
2.เรื่องอณาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content) เรื่องของข้อมูลต่างๆที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็น เรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอเน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอเน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอเน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สื่อเหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้
3.ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเตอร์เน็ต และระเบิดเวลา ไวรัส : เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ
ม้าโทรจัน : ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆกัน คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์ มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ และสิ่งที่มันทำนั้น ไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย
หนอนอินเตอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง
ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆมาถึง ยกตัวอย่างเช่น ระเบิดเวลาจะทำลายไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542
1. ความสำคัญของอินเตอร์เน็ตที่เราคุ้นเคยแบ่งได้ 9 กลุ่มดังนี้ 1. หาความรู้ ความบันเทิง ข่าวสาร และสิ่งที่สนใจ เหมือนกับการอ่านหนังสือ นิตยสารและหนังสือพิมพ์ซึ่งมีมากมายกว่าร้านหนังสือหรือห้องสมุดใดๆในโลก และที่สำคัญ ข้อมูลเหล่านี้มักเป็นของฟรีด้วย ความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
2. 2. ส่งและรับจดหมายอิเลคทรอนิคส์ (ELECTRONICS MAIL:EMAIL) ซึ่งเป็นจดหมายที่ สามารถส่งหาผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนอื่นได้อย่างรวดเร็ว ข้ามโลกในเวลาไม่กี่วินาที
3. 3. แลกเปลี่ยนไฟล์ (FILE TRANSFER PROTOCOL:FTP) ไม่ว่าจะเป็นไฟล์โปรแกรม ไฟล์ภาพ หรือเกม
4. 4. ซื้อและขายสินค้าที่ต้องการ (ELECTRONICS COMMERCE:E-COMMERCE) โดยผู้ขายสามารถจัดแสดงภาพสินค้าไว้ในอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ซื้อมาเลือกชมและสั่งสินค้าได้ทันที และผู้ขายยังสามารถรับชำระเงิน ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย
5. 5. พูดคุยพบปะสังสรรค์กับเพื่อนๆ (CHAT และ NEWSGROUP) ทั้งเพื่อนเก่าและเพื่อนใหม่ที่คุณสามารถหาได้ง่ายในอินเตอร์เน็ต
6. 6. ฟังวิทยุ และโทรทัศน์
7. 7. โทรศัพท์ผ่าน อินเตอร์เน็ต ซึ่งอาจมีภาพของ คู่สนทนาด้วย
8. 8. ส่งการ์ดอวยพร และส่งข้อความให้ผู้ใช้ โทรศัพท์มือถือ และ เพจเจอร์
9. 9. การสืบค้นข้อมูล ( Gopher, Archie, Wold Wide Web ) ค้นหาข้อมูล ซึ่งมีข้อมูลต่างๆมากมาย ในอินเตอร์เน็ต
10. 1 . ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ( E - Mail ) อีเมล์ เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทอนิกส์ผ่านเครือข่าย โดยมีผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังผู้รับ นอกจากนี้ยังส่งข้อมูล เป็นไฟล์แนบไปกับอีเมล์ได้ด้วย การบริการในอินเตอร์เน็ต
11. 2 . การขอเข้าระบบจากระยะไกล หรือเทลเน็ต ( Telnet ) เป็นบริการอินเทอร์เน็ตรูปแบบหนึ่ง โดยเราสามารถเข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น ถ้าเราอยู่ที่โรงเรียน ทำงานโดยใช้อินเทอร์เน็ต ของโรงเรียนแล้วกลับไปที่บ้าน เรามีคอมพิวเตอร์และต่ออินเตอร์เน็ตไว้ เราสามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้ เสมือนกับเราทำงานที่โรงเรียนนั่นเอง 3 . การถ่ายโอนข้อมูล ( File Transfer Protocol หรือ FTP ) เป็นบริการอีกรูปแบบหนึ่งของระบบอินเทอร์เน็ต เราสามารถค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพ และเสียง การบริการในอินเตอร์เน็ต
12. 4 . การสืบค้นข้อมูล ( Gopher, Archie, Wold WideWeb ) หมายถึงการใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข่าวสารมากมาย เช่นช่วยจัดเรียงข้อมูลข่าวสารตามหัวข้ออย่างมีระบบ เป็นหมวดหมู่ ทำให้เราค้นได้ง่ายและสะดวกขึ้ 5 . การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น ( Usenet ) เป็นการแลกข่าวสารความคิดเห็นของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก สามารถพบปะกัน แสดงความคิดเห็นของตนเอง โดยมีการจัดการผู้ใช้เป็นกลุ่มข่าว หรือนิวกรุ๊ป ( Newgroup ) เช่น เรื่องหนังสือ เรื่องการเลี้ยงสัตว์ การบริการในอินเตอร์เน็ต
13. 6 . การสื่อสารด้วยข้อความ ( Chat, IRC ) เป็นการพูดคุยระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยม มากอีกวิธีหนึ่ง การบริการในอินเตอร์เน็ต
14. 7 . การซื้อขายสินค้าและบริการ ( E - Commerce ) เป็นการจับจ่ายซื้อสินค้า และบริการ เช่น ขายหนังสือ คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว ฯลฯ ปัจจุบันมีบริษัทใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกิจบริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง ในปี 2540 การค้าขายบนอินเตอร์เน็ตมีมูลค่าสูงถึง 1 แสนล้านบาท การบริการในอินเตอร์เน็ต
15. 8 . การให้ความบันเทิง ( Entertain ) ในอินเทอร์เน็ตมีการบริการด้านความบันเทิง ในรูปแบบบริการต่าง ๆ เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง และจากแหล่งต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลกทั้งจากในประเทศและนอกประเทศ การบริการในอินเตอร์เน็ต
องค์
ประกอบของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
การให้บริการอินเตอร์เน็ตมีหลายรูปแบบ และมีการเปลี่ยนแปลงและเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา สามารถสรุปที่มีการใช้ประโยชน์มากที่สุกดังต่อไปนี้
1. เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) เวิลด์ไวด์เว็บ หรือเครือข่ายใยแมงมุม เหตุที่เรียกชื่อนี้เพราะว่าเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูล จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเรื่อยๆ เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในการเรียกดูเว็บไซต์ต้องอาศัยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ในการดูข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น โปรแกรม Internet Explorer (IE) , Netscape Navigator
2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การติดต่อสื่อสารโดยใช้อีเมลสามารถทำได้โดยสะดวก และประหยัดเวลา หลักการทำงานของอีเมลก็คล้ายกับการส่งจดหมายธรรมดา นั้นคือ จะต้องมีที่อยู่ที่ระบุชัดเจน ก็คืออีเมลแอดเดรส (E-mail address)
องค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย
1. ชื่อผู้ใช้ (User name)
2. ชื่อโดเมน
Username@domain_name
การใช้งานอีเมล สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
1. Corporate e-mail คือ อีเมล ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น u47202000@dusit.ac.th คือ e-mail ของนักศึกษาของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น
2. Free e-mail คือ อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ เช่น Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail และ Chaiyo Mail
3. บริการโอนย้ายไฟล์ (File Transfer Protocol) เป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายไฟล์ผ่านระบบ อินเทอร์เน็ต การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ 1. การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรีเช่น www.download.com
2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) การอัพโหลดไฟล์คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น FTP Commander
4. บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต (Instant Message) การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตคือ การส่งข้อความถึงกันโดยทันทีทันใด นอกจากนี้ยังสามารถส่งสัญลักษณ์ต่างๆ อาทิ รูปภาพ ไฟล์ข้อมูลได้ด้วย การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตเป็นโปรแกรมที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม ICQ (I seek you) MSN Messenger, Yahoo Messenger เป็นต้น
5. บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
1. Web directory คือ การค้นหาโดยการเลือก Directory ที่จัดเตรียมและแยกหมวดหมู่ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว website ที่ให้บริการ web directory เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com
2. Search Engine คือ การค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Search โดยการเอาคำที่เราต้องการค้นหาไปเทียบกับเว็บไซต์ต่างๆ ว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างที่มีคำที่เราต้องการค้นหา website ที่ให้บริการ search engine เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com, www.google.co.th, www.sansarn.com
3. Metasearch คือ การค้นหาข้อมูลแบบ Search engine แต่จะทำการส่งคำที่ต้องการไปค้นหาในเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลอื่นๆ อีก ถ้าข้อมูลที่ได้มีซ้ำกัน ก็จะแสดงเพียงรายการเดียว เว็บไซต์ที่ให้บริการ Metasearch เช่น www.search.com, www.thaifind.com
6. บริการกระดานข่าวหรือ เว็บบอร์ด (Web board)เว็บบอร์ด เป็นศูนย์กลางในการแสดงความคิดเห็น มีการตั้งกระทู้ ถาม-ตอบ ในหัวข้อที่สนใจ เว็บบอร์ดของไทยที่เป็นที่นิยมและมีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นมากมาย คือ เว็บบอร์ดของพันธ์ทิพย์ (www.pantip.com)
7. ห้องสนทนา (Chat Room)ห้องสนทนา คือ การสนทนาออนไลน์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีการส่งข้อความสั้นๆ ถึงกัน การเข้าไปสนทนาจำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์ที่ให้บริการห้องสนทนา
http://classroom.hu.ac.th/courseware/Network/chapter1.html
www.sanook.com www.pantip.com
http://202.143.137.109/araya/int.html
การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตหลายคนอาจเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยผ่านทางระบบเครือข่ายของสำนักงาน บริษัท หรือสถานศึกษาของตน ซึ่งตามปกติแล้วหากเป็นหน่วยงานหรือสำนักงานใหญ่ๆ จะต่อคอมพิวเตอร์เป็นระบบภายในองค์กร (LAN) ซึ่งมักจะเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ (ISP) ผ่านสายนำสัญญาณความเร็วสูง (High-Speed Leased Line) แทนที่จะเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม (Modem) แต่ถ้าหากว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในวง LAN ที่ไม่โตมากนักก็อาจใช้เชื่อมต่อผ่านโมเด็มก็ได้ เพราะจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระบบ แต่อาจจะมีปัญหาในเรื่องความเร็วในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตบ้างเล็กน้อย
ภาพแสดงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตผ่านทางผู้ให้บริการ
ผู้ให้บริการเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต เรียกว่า ISP (Internet Service Provider)
หรือที่เรียกกันว่า ไอเอสพี จะเป็นองค์กรที่ทำการติดตั้งและดูแลเครื่องให้บริการ (Server) ที่ต่อตรงเข้ากับระบบ อินเทอร์เน็ต ซึ่งอนุญาตให้ผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกขององค์กรนำระบบของตนเองเข้าไปเชื่อมต่อได้ ดังนั้น ISP ก็เปรียบเสมือนช่องทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งหลังจากที่เราเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แล้ว เราก็สามารถเข้าไปยัง ส่วนใด ๆ ก็ได้ในระบบอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่อผ่านทาง ISP ยังแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น 2 ประเภทตามความต้องการ
ใช้งานดังนี้
1. การเชื่อมต่อแบบองค์กร เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นเข้าเชื่อมต่อกับ ISP เพื่อเชื่อมโยง เข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ตได้เลย
2. การเชื่อมต่อส่วนบุคคล เป็นการเชื่อมต่อของบุคคลธรรมดาทั่วไปซึ่งสามารถ่ขอเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ อาจจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเดม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อแบบ Dial-Up โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง SLIP หรือ PPP account
TCP/IP : ภาษาหลักในอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมากทั่วโลก แต่ละคนก็ใช้คอมพิวเตอร์ต่างแบบต่างรุ่นกัน ดังนั้นการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องอาศัยภาษากลางที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้ากันกันได้ ซึ่งภาษากลางนี้มีชื่อทางเทคนิคว่า "โปรโตคอล" (Protocol) สำหรับโปรโตคอลเป็นมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตมีชื่อเรียกว่า TCP/IP ซึ่งได้แพร่หลายไปทั่วโลกพร้อมๆ กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเป็นโปรโตคอลที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
หลักการทำงานของโปรโตคอล TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่งไปยังเครื่องอื่นเป็นส่วนย่อยๆ ( เรียกว่า แพ็คเก็ต : packet ) และส่งไปตามเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยการกระจายแพ็กเก็ตเหล่านั้นไปหลายทาง โดยในแต่ละเส้นทางจะไปรวมกันที่จุดปลายทาง และถูกนำมารวมกันเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง
รูปแบบการทำงานของโปรโตคอล TCP/IP ที่มีการแบ่งข้อมูลและจัดส่งเป็นส่วนย่อย จะสามารถช่วยป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นสในการติดต่อสื่อสารได้ เพราะถ้าข้อมูลสูญหายก็จะเกิดเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นมิใช่หายไปทั้งหมด ซึ่งคอมพิวเตอร์ปลายทางสามารถตรวจหาข้อมูลที่สูญหายได้ และติดต่อให้คอมพิวเตอร์ต้นทางส่งเพียงเฉพาะข้อมูลที่หายไปมาใหม่ได้ โปรโตคอล TCP/IP ถูกคิดค้นโดยรัฐบาลสหรัฐ และถูกนำมาใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพี่อป้องกัน ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ในกรณีที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ใหญ่ในรัฐใดรัฐหนึ่งถูกโจมตีจนได้รับความเสียหาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนที่เหลือก็ยังสามารถติดต่อถึงกันได้อยู่ เพราะข้อมูลจะถูกโอนย้ายไปตามเส้นทางอื่นในเครือข่ายแทน
SLIP/PPP : ช่วยสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์
ในการส่งข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตนั้น จำเป็นต้องส่งผ่านทั้งในระบบสายสัญญาณ 6 สาย ในระบบLAN และระบบสายโทรศัพท์ประกอบกัน ดังนั้นเพื่อให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างราบรื่น จึงต้องมีโปรโตคอล เพิ่มขึ้นอีก ซึ่งได้แก่ โปรโตคอล SLIP (Serial Line Internet Protocol) และ PPP (Point-to-Point Protocol) ซึ่งทำงานบน TCP/IP อีกทีหนึ่ง
SLIP
โปรโตคอล SLIP ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ TCP/IP สามารถสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์เพื่อส่งผ่านข้อมูลระหว่างระบบแลน (LAN) กับระบบแวน (WAN) ได้ซึ่งก็ได้รับความนิยม และเป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในระบบ UNIX ได้นำโปรโตคอลนี้ติดตั้งไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ นั่นหมายความว่าทุกเครื่องที่ใช้ระบบ UNIX จะมีโปรโตคอล SLIP อยู่ในตัวและสามารถใช้งานได้ทันที
PPP
เนื่องจากปรากฎว่าโปรโตคอล SLIP เกิดมีปัญหาไม่เข้ากันกับโปรโตคอลบางตัวที่ระบบแลน (LAN) นั้นใช้อยู่เดิมจึงได้มีการพัฒนาโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ในชื่อ PPP เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ดังนั้น PPP จึงเป็นโปรโตคอลที่สามารถใช้ร่วมกับโปรโตคอลอื่นๆ ได้ดี อีกทั้งยังเพิ่ม ระบบการตรวจสอบข้อมูล การรักษาความปลอดภัย และการบีบอัดข้อมูลซึ่งทำงานได้ดีกว่า SLIP และก็คงถูกใช้เป็นมาตรฐานต่อไป
IP address : ระบุที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์
เราอาจสงสัยเกี่ยวกับการทำงานของอินเทอร์เน็ตว่า รู้จักที่อยู่ของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้อย่างไร ลักษณะก็จะเหมือนกับเมื่อเราต้องการหาบ้านหลังหนึ่งในเมือง ขนาดใหญ่ไห้พบ เราต้องทราบข้อมูล เช่น บ้านเลขที่ ถนน ตำบล เป็นต้น ในอินเทอร์เน็ต ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเราต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เราก็จะต้องการที่อยู่ของ เครื่องนั้นๆ บนอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า ไอพี แอดเดรส (IP address)
IP
address เป็นหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก
โดยประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดต่อกัน โดยมีจุด (.) เป็นสัญลักษณ์ แบ่งตัวเลขเป็นชุด ซึ่งแต่ละชุดจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ถึง 255
ตัวอย่าง : IP address 208.49.20.16 เนื่องจาก IP address เป็นหมายเลขที่ไม่ซ้ำกัน จึงได้เกิดหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแล เรื่องการจัดสรร IP address โดยตรง หน่วยงานนี้มีชื่อว่า interNIC (Internet Network Information Center) สำหรับผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตทั่วๆไปจะได้รับ
IP address จากผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider) ซึ่งได้ทำการขอ IP address เตรียมไว้ ล่วงหน้าแล้ว
Domain Name : อินเทอร์เน็ตแอตเดรส
ถึงแม้การทำงานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะใช้ IP address แต่เนื่องจากเป็นชุดตัวเลขที่จดจำ
ได้ยาก ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการนำอินเทอร์เน็ตแอดเดรส หรือ โดเมนเนมมาใช้ กล่าวคือการนำตัวอักษรที่จำได้ง่ายมาใช้แทน IP address อินเทอร์เน็ตแอตเดรสจะไม่ซ้ำกันและเพื่อสะดวกในการจดจำชื่อโดเมน ดังนั้นโดเมนเนม มักนิยมตั้งให้สอดคล้องกับชื่อของบริษัท หรือชื่อองค์กรผู้เป็นเจ้าของเหล่านี้เป็นต้น
208.49.20.16 < ---------------> www.srithai.com
(IP Address) (โดเมนเนม)
แม้ว่าเราใช้โดเมนเนม แต่เนื่องจากรูปแบบการสื่อสารข้อมูลในอินเทอร์เน็ตใช้ IP address จึงต้องมีการแปลงโดเมนเนมกลับไปเป็น IP address โดยจะมีการจัดตั้ง คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะที่มีชื่อเรียกว่า DNS Serve
การเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นสามารถทำได้หลายแบบ
ซึ่งแต่ละแบบจะต้องใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันไป ดังนี้
? การเชื่อมต่อแบบบุคคล เป็นการเชื่อมต่อของบุคคลธรรมดาทั่วไป
ซึ่งสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้เครื่อง
คอมพิวเตอร์ ที่ใช้อยู่ อาจจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่าน
ทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ ที่เรียกว่า โมเด็ม (Modem) ซึ่ง
ค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อ
แบบ Dial-Up โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่าน
ทาง SLIP หรือ PPP account
? การเชื่อมต่อแบบองค์กร เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่าย
ใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server)
ของเครือข่ายนั้นเข้าเชื่อมต่อกับ ISP เพื่อเชื่อมโยง เข้าสู่ระบบ
อินเทอร์เน็ตได้เลย โดยผ่านอุปกรณ์ชี้เส้นทาง Router และ
สายสัญญาณเช่า (ตลอด 24 ชั่วโมง)
อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
1. คอมพิวเตอร์ ควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาของหน่วย
ประมวลผลตั้งแต่ 166 MHz มีหน่วยความจำหลัก RAM ตั้งแต่ 16 MB ขึ้นไป
2. โมเด็ม (Modulator Demodulator Machine) คืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลง
ข้อมูลที่ได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ไปเป็นสัญญาณไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง
(Impulse) ซึ่ง สามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ทั่วไปได้ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์
นั้นจะเป็นสัญญาณ อนาล็อก ส่วนสัญญาณข้อมูลที่มาจากคอมพิวเตอร์จะ
เป็นสัญญาณดิจิตอล ทำให้ต้องใช้โมเด็มในการแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็น
ดิจิตอลและดิจิตอลเป็นอนาล็อก ซะก่อน โมเด็มสามารถแยกได้เป็น 3 ชนิด
แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้
• โมเด็มแบบติดตั้งภายใน โมเด็มชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นวงจร
อิเล็กทรอนิกส์นำมาติดตั้งเข้ากับภายใน ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์โดย
ตรง รูปร่างจะแตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตจะออกแบบมาสำหรับ
คอมพิวเตอร์ชนิดนั้นๆ โมเด็มชนิดนี้จะใช้ไฟฟ้าจากสล็อตบน
เมนบอร์ดทำให้เราไม่ต้องต่อไฟหม้อแปลง ต่างหากจากภายนอก
ส่วนมากโมเด็มติดตั้งภายในจะทำการติดตั้ง ผ่านทาง Port อนุกรม
RS-232C รวมอยู่ด้วย ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่อง port อนุกรมรุ่นเก่า
ที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อโมเด็มกับเครื่อง
คอมพิวเตอร์จะต่อทาง slot มาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์และ
เมื่อติดตั้งแล้วจะไม่เปลือง เนื้อที่ภายนอกใดๆ เลย และโมเด็มสำหรับ
ติดตั้งภายในจะมี จุดให้ผู้ใช้เสียบสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็มโดยใช้
ปลั๊กโทรศัพท ์ธรรมดา แบบ RJ-11 และมีลำโพงประกอบด้วย
• โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมแบนๆ
ภายในมีวงจรโมเด็ม ไฟสถานะ และลำโพง เนื่องจากต่อภายนอกจึง
ต้องมี adapter แปลงสัญญาณไฟเลี้ยงวงจร และจะมีสายต่อแบบ 25 ขา
DB25 เอาไว้ใช้เชื่อมต่อผ่านทาง port อนุกรม RS - 232C
• PCMCIA (Personal Computer Memory Card International
Asociation) จะเป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็ที่สุดคือ มีขนาดเท่าบัตรเครดิต
และหนาเพียง 5 มิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่งโมเด็มชนิดนี้ออกแบบมาโดยให้
คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคโดยเฉพาะ ซึ่งในปัจจุบันโมเด็มชนิดนี้จะมีความเร็ว
พอๆ กับโมเด็มที่ติตตั้งภายนอกและภายใน ในปัจจุบันนี้โมเด็มมีความ
เร็วสูงสุดที่ 56 Kbps (Kilobyte per second) โดยจะใช้ มาตรฐาน V.90
เป็นตัวกำหนด
โมเด็มชนิดติดตั้งภายนอก ภายใน และ PCMCIA
ภาพแสดงการเชื่อมต่อผ่านโมเด็มสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
• คู่สายโทรศัพท์ (Dial line) เป็นคู่สายโทรศัพท์บ้านสำหรับเชื่อมต่อกับโมเด็ม
• บัญชีผู้ใช้งาน (Account) จากผู้ให้บริการเอกชน ISP หรือขององค์กร/หน่วย
งานต่างๆ เช่น SchoolNet 1509 ซึ่งจะกำหนดหมายเลขโทรศัพท์สำหรับการ
เชื่อมต่อ ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password)
การเชื่อมต่อแบบบุคคล
• การเชื่อมต่อเริ่มจากผู้ใช้งาน (User) หมุนโมเด็มไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของ
ผู้ให้บริการที่มีโมเด็มต่ออยู่เช่นกัน สัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จะถูก
เปลี่ยนจากสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาล็อก ผ่านคู่สายโทรศัพท์ไปยังโมเด็มฝั่ง
ตรงข้ามเพื่อเปลี่ยนกลับสัญญาณอนาล็อก เป็นดิจิตอลอีกครั้ง
สัญญาณขอเข้าเชื่อมเครือข่ายจะถูกส่งมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ให้
บริการเพื่อตรวจสอบสิทธิการใช้งานจาก Username และ Password ว่าถูกต้อง
หรือไม่? ถ้าถูกต้องก็จะได้รับอนุญาตให้เชื่อมต่อได้ สามารถจะทำการรับ-ส่งไฟล์
รับ-ส่งอีเมล์ สนทนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ และท่องโลกกว้างไซเบอร์สเปซ
ทาง WWW ได้ทันที
การเชื่อมต่อแบบองค์กร
จะเป็นการเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมาก
ที่ถูกต่อ เข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง
ให้บริการ (Server) ด้านต่างๆ และมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีอุปกรณ์ที่สำคัญดังนี้
1. คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) ควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาของหน่วยประมวลผลตั้งแต่ 500 MHz มีหน่วยความจำหลัก RAM ตั้งแต่ 512 MB ขึ้นไป จำนวนเครื่องขึ้นอยู่กับความต้องการและปริมาณการใช้งานขององค์กร
2. ดิจิตอลโมเด็ม (NTU) และอุปกรณ์ชี้เส้นทาง (Router) คืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ดิจิตอลและกำหนดเส้นทางในการเชื่อมต่อด้วยหมายเลข IP Address ไปยังเครือข่ายอื่นๆ
3. คู่สายเช่า (Lease line) เป็นคู่สายสัญญาณเช่าสำหรับการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา ไม่ต้องมีการหมุนหมายเลขโทรศัพท์ในการเชื่อมต่อ
4. สิทธิการใช้งานเชื่อมต่อ (Air time) จากผู้ให้บริการเอกชน ISP หรือขององค์กร/หน่วยงานต่างๆ เช่น SchoolNet 1509 ซึ่งจะกำหนดหมายเลข IP Address ของกลุ่มเครื่องในเครือข่ายจำนวนหนึ่งมาให้สำหรับใช้กับอุปกรณ์ชี้เส้นทางและเครื่องแม่ข่าย
การเชื่อมต่อแบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เหมาะสำหรับองค์กรที่มีปริมาณการใช้งานของเครือข่ายสูง มีเครื่องคอมพิวเตอร์/สมาชิก เชื่อมต่อเป็นเครือข่ายภายในองค์กรเป็นจำนวนมาก มีข้อมูลที่จะนำเสนอสู่สาธารณชนปริมาณมาก และปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech04/38/connect.html
http://www.skn.ac.th/a_cd/internet/via_internet.html
ระบบเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ และเครือข่ายย่อย จำนวนมากเชื่อมต่อกัน เป็นจำนวนหลายร้อยล้านเครื่อง ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ข้อความ และเสียง โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายอยู่ทั่วโลก
อินเทอร์เน็ต มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุผลทางการทหาร เนื่องจากในยุคสงครามเย็น เมื่อประมาณ พ.ศ.2510 ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ และฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา โดยต่างฝ่าย ต่างก็กลัวขีปนาวุธ ของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยผู้นำสหรัฐอเมริกา วิตกว่า ถ้าหากทางฝ่ายรัฐเซีย ยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์เข้ามา ถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุดของตนเองขึ้นมา อาจจะทำให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันเสียหายได้ จึงได้สั่งให้มีการวิจัย เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชนิดใหม่ขึ้นมา เพื่อป้องกันความเสียหาย โดยมีจุประสงค์ว่า ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง ถูกทำลาย แต่เครื่องอื่นก็จะต้องใช้งานต่อไปได้ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลระบบเครือข่าย ในขณะนั้นมีชื่อว่า ARPA (Advanced Research Projects Agency) ดังนั้นชื่อเครือข่ายในขณะนั้น จึงถูกเรียกว่า ARPANET ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 เครือข่ายขยายใหญ่โต เพิ่มมากขึ้น จากการระดม นักวิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมา เพื่อความเหมาะสม จึงได้มาตรฐาน TCP/IP และนอกจากประโยชน์ด้านงานวิจัย และทางทหารแล้ว ยังได้นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านธุรกิจ และการพาณิชย์อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และนำมาใช้ประโยชน์ ในการติดต่อข้อมูลข่าวสารมากมาย สำหรับในประเทศไทยได้มีการเริ่มต้นติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยติดต่อกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยเชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2530 ต่อมากระทวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน ได้มอบหมายให้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ให้ทุนสนับสนุน แก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อศึกษา ถึงการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ 12 แห่งเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2531 หลังจากนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เป็นเกตเวย์อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยและเริ่มให้บริการทางอินเทอร์เน็ต เต็มรูปแบบในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทย ร่วมลงทุนกับหน่วยงานของรัฐ และเอกชน เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ 2 รายคือบริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด และบริษัท อินเทอร์เน็ต คอมเมอร์เชียล แอนด์โนว์เลจเซอร์วิส จำกัด ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น KSC คอมเมอร์เชียลอินเทอร์เน็ต จำกัด
มาตรฐานการสื่อสารด้านอินเทอร์เน็ต
โปรโตคอล (Protocol) คือตัวกลาง หรือภาษากลาง ที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสาร ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงกัน ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ นับร้อยล้านเครื่องซึ่งแต่ละเครื่องมีความแตกต่างกัน ทั้งรุ่นและขนาดของคอมพิวเตอร์ ถ้าขาดโปรโตคอลก็จะไม่สามารถที่จะติดต่อสื่อสาร ให้เข้าใจกันได้ เพราะฉะนั้นโปรโตคอล ก็เปรียบเหมือนเป็นล่ามที่ใช้แปลภาษา ของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มาตรฐานนี้เรียกว่า TCP/IP การทำงานของ TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่า แพ็คเก็ต (Packet) แล้วส่งไปตามเส้นทางต่าง ๆ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะกระจายแพ็คเก็ตออกไปหลายเส้นทาง แพ็คเก็ตเหล่านี้ จะไปรวมกันที่ปลายทาง และถูกนำมาประกอบรวมกัน เป็นข้อมูลที่สมบูรณ์อีกครั้ง
ระบบไอพีแอดเดรส (IP Address) เมื่อเราต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เราจะต้องทราบที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น คอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP จะมีหมายเลขประจำเครื่องที่ไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก มีชื่อเรียกว่า ไอพีแอดเดรส ไอพีแอดเดรสจะมีลักษณะเป็นตัวเลข 4 ชุดที่มีจุด ( . ) คั่น เช่น 193.167.15.1 เป็นต้น ตัวเลขแต่ละชุด จะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 คอมพิวเตอร์ ที่มีไอพีแอดเดรสเป็นของ ตัวเองและใช้เป็นที่เก็บเว็บเพจ เราเรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือโฮสต์ (Host) ส่วนองค์กรหรือผู้ควบคุมดูแลและจัดสรรหมายเลขไอพีแอดเดรส เราเรียกว่า อินเทอร์นิก (InterNIC)
โดเมนเนม (Domain Name)
โดเมนเนม (Domain Name) เป็นระบบที่นำตัวอักษร ที่จำได้ง่ายเข้ามาแทนไอพีแอดเดรส ที่เป็นตัวเลข แต่ละโดเมนจะมีชื่อไม่ซ้ำกัน และมักจะถูกตั้งให้คล้ายกับชื่อของบริษัทหน่วยงาน หรือองค์กรของผู้เป็นเจ้าของ เพื่อความสะดวกในการจดจำชื่อ
ความหมายโดเมนเนม
โดเมนเนม ความหมาย
Com กลุ่มองค์การค้า (Commercial)
Edu กลุ่มการศึกษา (Education)
Gov กลุ่มองค์กรรัฐบาล (Governmental)
Mil กลุ่มองค์กรทหาร (Military)
Net กลุ่มองค์การบริหาร (Network Service)
Org กลุ่มองค์กรอื่น ๆ (Organizations)
ความหมายโดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเทศ
โดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเทศ ความหมาย
au ออสเตรเลีย (Australia)
fr ฝรั่งเศส (France)
th ไทย (Thailand)
jp ญี่ปุ่น (Japan)
uk อังกฤษ (United Kingdom)
โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์
โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ (Domain Name Server) ถึงแม้ระบบโดเมนเนม จะทำให้จดจำชื่อได้ง่าย แต่การทำงานจริง ของอินเทอร์เน็ต ก็จำเป็นต้องใช้ไอพีแอดเดรส อย่างเดิม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีระบบ ที่จะทำการแปลงโดเมนเนม ไปเป็นไอพีแอดเดรส โดยจะต้องจัดการให้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ทำหน้าที่ในการแปลงโดเมนเนม ไปเป็นไอพีแอดเดรส เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้ จะถูกเรียกว่าโดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ (Domain Name Server) หรือ ดีเอ็นเซิร์ฟเวอร์ (DNS Server)
ตำแหน่งอ้างอิงเว็บเพจ
เป็นตำแหน่งที่ใช้อ้างอิงเว็บเพจต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตโดยพิมพ์ URL เข้าไปในช่อง Address ของเว็บเบราเซอร์โดย URL ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้คือ
www.hotmail.com/data.html
www คือ การแสดงว่าขณะนี้กำลังใช้บริการ www
hotmail คือ โดเมนเนมของเว็บไซต์ที่กำลังใช้งานอยู่
data.html คือ ตำแหน่งของไฟล์ที่เก็บเว็บเพจหน้านั้นอยู่
การเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่อินเทอร์เน็ตผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องมีบีประจำเครื่อง (Account Number) ที่ศูนย์บริการ แล้วเชื่อโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องที่ศูนย์บริการ โดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านทางโมเด็ม (Modem) และจะมีซอฟต์แวร์ทำหน้าที่แปลงคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เป็นเทอร์มินัลของคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์บริการเมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ผู้ใช้จะมี User ID หรือ User name หรือ Login name และ Password ผู้ใช้จะต้องจัดเตรียมและเชื่อมต่ออุปกรณ์ดังนี้
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่จำกัดชนิดและยี่ห้อ ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้จะใช้เครื่อง PC
2.โมเด็ม ทำหน้าที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ ความเร็วของโมเด็มเป็นความเร็วในการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ โมเด็มมีขนาดความเร็วต่าง ๆ กัน โมเด็มมีขนาดความเร็วสูงตั้งแต่ 14.4 Kbps ขึ้นไป ส่วนใหญ่แล้วจะมีความสามารถรับส่ง Fax ได้ด้วย เรียกกว่า Fax Modem โมเด็มที่มีความเร็วสูงจะมีราคาแพงกว่า ความเร็วของโมเด็มวัดเป็นบิดต่อวินาที (bps)
โมเด็มแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.โมเด็มภายใน (internal modem) เป็นการ์ดที่เสียบลงบนสล็อต (slot) ของเมนบอร์ด
2.โมเด็มภายนอก (External nodem) เป็นกล่องขนาดเล็ก มีพอร์ต (port) เพื่อเสียบสัญาณจากคอมพิวเตอร์เข้าโมเด็ม มีช่องสำหรับเสียบสายโทรศัพท์ และมีสายไฟจากโมเด็มเพื่อต่อเข้ากับไฟบ้าน
3. โทรศัพท์ เพื่อเชื่อมต่อสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็ม เพื่อให้สัญญาณข้อมูลส่งผ่านสายโทรศัพท์ ดังนั้นผู้ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ต จะต้องมีโทรศัพท์หนึ่งเลขหมายในการต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต
4.ซอฟต์แวร์ ในการใช้อินเทอร์เน็ตจะมีโปรแกรมที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ประเภทคือ 1.โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อเพื่อจัดการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอินเทอร์เน็ต ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Window 95 จะมีโปรแกรม dial-Up Networking ที่ใช้ในการสื่อสารอยู่แล้ว
2. โปรแกรมที่ใช้รับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เช่น Eudora
3. โปรแกรมที่ใช้ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เรียกกว่า บราวเซอร์ (Browser) เช่น Netscape Navigator, Internet Exploer
5.ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)
ผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นศูนย์บริการให้กับสมาชิก ซึ่งมีทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยศูนย์บริการเหล่านี้จะต้องเสียเงินค่าเช่าสายสัญญาณไปต่างประเทศให้กับรัฐ
ข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์
1. เว็บเพจ(Web Page) คือ ข้อมูลที่แสดงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นเอกสารที่สามารถเชื่อมโยงไปยังหน้า อื่น ๆ ได้
2. เว็บไซต์ (Web Site) คือ เว็บเพจทั้งหลายที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต และบรรจะไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ เช่น เว็บไซต์ www.google.com
3. โฮมเพจ (Home Page) คือ เว็บเพจหลักของเว็บไซต์ ภายในโฮมเพจจะมีจะเชื่อมต่อเปิดเข้าไปชม เว็บเพจอื่น ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์นี้ได้
4. โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ ในการเปิดเว็บเพจ และสามารถรับส่ง ไฟล์ทางอินเทอร์เน็ต โดยการแปลงภาษา HTML แล้วแสดงผลคำสั่งให้ออกมาเป็นรูปภาพเสียง และข้อมูล ต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันได้แก่ NCSA Mosaic, Netscape Navigator, Internet Explorer และ Opera
โปรแกรมที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ Internet Explorer
5. ภาษาHTML (Hyper TextMarkup Language) เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยสามารถใส่จุดเชื่อมโยง (Link) ไปยังเอกสารหน้าอื่น ๆ ซึ่งการเชื่อมโยงนี้ถูกเรียกว่า Hypertextหรือเอกสาร HTML ซึ่งเว็บเพจจะใช้รหัส คำสั่ง สำหรับควบคุมการแสดงผลข้อความ หรือรูปภาพในลักษณะต่าง ๆกันได้ โดยใช้สิ่งที่เรียกว่า แท็ก (Tag) ซึ่งแท็กจะกำหนด ให้เบราเซอร์แปลความหมายของรหัสคำสั่งดังกล่าว เป็นข้อมูลของเว็บเพจและคุณสมบัติ
พื้นฐานต่าง ๆ ด้วยนอกจากนี้ยังได้มีการนำเอาโค้ดภาษาโปรแกรมที่เรียกว่าสคริปต์ (Script) มาช่วยเพิ่ม ความสามารถ และสีสันให้เว็บเพจมากขึ้น
6. WYSIWYG (What-You-See-Is-What-You-Get) โปรแกรมแบบวิสสิวิกนี้ ใช้สร้างเว็บเพจโดยการนำรูปภาพ
หรือข้อความมาวางทับบนเว็บเพจ และเมื่อแสดงผลเว็บเพจ จะปรากฎหน้าเอกสารของเว็บเพจ เหมือนกับขณะที่
ทำการสร้าง การใช้งานจะใช้งานได้ง่ายกว่า การเขียนด้วยภาษา HTMLมาก โปรแกรมที่สามารถตอบสนอง การ
สร้างเว็บเพจแบบ WYSIWYG มีอยู่หลายโปรแกรมให้เลือกใช้เช่น FrontPage, Dreamweaver เป็นต้น
บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ที่เราสามารถค้นคว้า และรับส่งข้อมูลไปมา ระหว่างกันได้ อินเทอร์เน็ตจึงมีประโยชน์สำหรับยุคสังคมและข่าวสาร ในปัจจุบันอย่างมาก อินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่ เหมือนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ส่งข้อมูลที่เราต้องการมาให้ถึงบ้านหรือที่ทำงาน ภายในไม่กี่นาที จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก โดยจัดเป็นบริการในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
1. เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) คือบริการค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดีย บนอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศอาจจัดอยู่ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือ เสียงก็ได้ ข้อดีของบริการประเภทนี้คือ สามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น หรือเว็บไซด์อื่นได้ง่าย เพราะใช้วิธีการของไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) โดยมีการทำงานแบบไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูล จากเครื่องที่ให้บริการซึ่งเรียกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยอาศัยโปรแกรม ที่ใช้ดูข้อมูลเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ซึ่งผลที่ได้จะมีการแสดงเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งในปัจจุบันมีการผนวกรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรงตัวอย่างเช่น www.yahoo.com สามารถค้นหาและเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเรื่องราวต่างๆ เช่น การศึกษาการท่องเที่ยว โรงแรมต่าง ๆ การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เป็นต้น
2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “อีเมล์” (E-mail) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน และกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถส่งข้อความ ไปยังสมาชิกที่ติดต่อด้วย โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และสามารถแนบไฟล์ข้อมูลไปพร้อมกับจดหมายได้อีกด้วย การส่งจดหมายในลักษณะนี้ จะต้องมีที่อยู่เหมือนกับการส่งจดหมายปกติ แต่ที่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เราเรียกว่า E-mail Address
3. การโอนย้ายข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อีกรูปแบบหนึ่ง ใช้สำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ FTP Server การโอนย้ายไฟล์จาก FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้ เรียกว่า ดาวน์โหลด (Download) และการโอนย้ายไฟล์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ไปยังไปยัง FTP Server เรียกว่า อัพโหลด
4. การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) คือ บริการที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความที่ต้องการสืบค้น เข้าไป โปรแกรมจะทำการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ให้ภายในเวลาไม่กี่นาที โปรแกรมประเภทนี้เราเรียกว่าSearch Engines เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สามารถจำชื่อเว็บไซด์ บางเว็บได้ ก็สามารถใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล ในลักษณะนี้ได้ เว็บไซด์ที่ทำหน้าที่เป็น Search Engines มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น google.com , yahoo.com , sanook.com ฯลฯ เป็นต้น
5. การสนทนากับผู้อื่นบนอินเทอร์เน็ต จะคล้ายกับการใช้โทรศัพท์แต่แตกต่างกันที่ เป็นการสื่อสาร ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะใช้ไมโครโฟน และลำโพงที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ในการสนทนา
6. กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (News Group or Use Net) เป็นบริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นลงไปบริเวณกระดานข่าวได้ มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะสนใจเรื่องราวที่แตกต่างกันไป เช่นการศึกษา การท่องเที่ยว การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นต้น
7. การสื่อสารด้วยข้อความ IRC (Internet Relay Chat) เป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น โดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน ซึ่งจำนวนผู้ร่วมสนทนาอาจมีหลายคนในเวลาเดียวกัน ทุกคนจะเห็นข้อความ ที่แต่ละคนพิมพ์เหมือนกับว่ากำลังนั่งสนทนาอยู่ในห้องเดียวกัน โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารได้แก่โปรแกรม mIRC โปรแกรม PIRCH และโปรแกรม Comic Chat นอกจากโปรแกรม IRC แล้ว ในปัจจุบันนี้ภายในเว็บไซต์ ยังเปิดให้บริการห้องสนทนาผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ได้อีกด้วย
2.1 อินเทอร์เน็ต คืออะไร
อินเทอร์เน็ต(Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้มา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
IP (Internet protocal) Address
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน internet ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (Internet assigned number authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก เป็น Public address ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (Asia pacific network information center) แต่การขอ IP address ตรง ๆ จาก APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย Router ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง
ถ้าท่านมีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP address จาก ISP (Internet Service Provider) เพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่า Bandwidth เช่น 2 Mbps แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็จะได้ความเร็วในปัจจุบันไม่เกิน 56 Kbps ซึ่งเป็น speed ของ MODEM ในปัจจุบัน
IP address คือเลข 4 ชุด หรือ 4 Byte เช่น 203.158.197.2 หรือ 202.29.78.12 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นสถาบันการศึกษาโดยทั่วไปจะได้ IP มา 1 Class C เพื่อแจกจ่ายให้กับ Host ในองค์กรได้ใช้ IP จริงได้ถึง 254 เครื่อง เช่น 203.159.197.0 ถึง 203.159.197.255 แต่ IP แรก และ IP สุดท้ายจะไม่ถูกนำมาใช้ จึงเหลือ IP ให้ใช้ได้จริงเพียง 254 หมายเลข
1 Class C หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.255.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 254
1 Class B หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 66,534
1 Class A หมายถึง Subnet mask เป็น 255.0.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 16,777,214
2.2 ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
2.2.1 เป็นแหล่งข้อมูลที่ลึก และกว้าง เพราะข้อมูลถูกสร้างได้ง่าย แม้นักเรียน หรือผู้สูงอายุก็สร้างได้
2.2.2 เป็นแหล่งรับ หรือส่งข่าวสาร ได้หลายรูปแบบ เช่น mail, board, icq, irc, sms หรือ web เป็นต้น
2.2.3 เป็นแหล่งให้ความบันเทิง เช่น เกม ภาพยนตร์ ข่าว หรือห้องสะสมภาพ เป็นต้น
2.2.4 เป็นช่องทางสำหรับทำธุรกิจ สะดวกทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย เช่น e-commerce หรือบริการโอนเงิน เป็นต้น
2.2.5 ใช้แทน หรือเสริมสื่อที่ใช้ติดต่อสื่อสาร ในปัจจุบัน โดยเสียค่าใช้จ่าย และเวลาที่ลดลง
2.2.6 เป็นช่องทางสำหรับประชาสัมพันธ์สินค้า บริการ หรือองค์กร
2.3 ประวัติความเป็นมา
2.3.1 ประวัติในระดับนานาชาติ
- อินเทอร์เน็ต เป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2503(ค.ศ.1960)
- พ.ศ.2512(ค.ศ.1969) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีพ.ศ.2512 นี้เองได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลองแอนเจลิส สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีพ.ศ.2518(ค.ศ.1975) จึงเปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่ หน่วยงานการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ(Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก IAB(Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ใน Internet IETF(Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
- พ.ศ.2526(ค.ศ.1983) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform และสื่อสารกันได้ถูกต้อง
- การกำหนดชื่อโดเมน(Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ พ.ศ.2529(ค.ศ.1986) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย(Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2533(ค.ศ.1990) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ(National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
- ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ตัดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
2.3.2 ประวัติความเป็นมาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
- อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปีพ.ศ.2530(ค.ศ.1987) โดยการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(http://www.psu.ac.th)และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (http://www.ait.ac.th) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย(http://www.unimelb.edu.au) แต่ครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-up line) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้า และไม่เสถียร จนกระทั่ง ธันวาคม ปีพ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย 6 แห่ง เข้าด้วยกัน (Chula, Thammasat, AIT, Prince of Songkla, Kasetsart and NECTEC) โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า ไทยสาร(http://www.thaisarn.net.th) และขยายออกไปในวงการศึกษา หรือไม่ก็การวิจัย การขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนเดือนกันยายน ปี พ.ศ.2537 มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมถึง 27 สถาบัน และความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตของเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (http://www.cat.or.th) เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน สามารถเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP - Internet Service Provider) และเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป สามารถเชื่อมต่อ Internet ผ่านผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย
What is internet? (จาก doothai.com โดย สมฤดี บุญช่วยชู)
อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว (Global Network) ที่รวมผู้ใช้กว่า 60 ล้านคน เพื่อประกอบกิจกรรมหลากหลายตั้งแต่ การพูดคุย การสื่อสารข้อมูล การแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้ การค้าขายแบบอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาทางไกล ฯลฯ เมื่อครั้งที่อินเตอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นนั้น ไม่มีใครเคยคาดคิดว่ามันจะกลายมาเป็นเครือข่ายที่มีบทบาทกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน จนถึงขนาดที่กำลังจะปฏิวัติวิธีการดำเนินชีวิตของประชากรโลกในศตวรรษหน้า กล่าวคือเมื่อ 20 ปีก่อน กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้มีมติด่วนให้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า ARPANET จุดมุ่งหมายคือให้เป็นเครือข่ายที่มีความเชื่อถือได้สูง สามารถที่จะทำงานได้แม้ภายหลังที่อเมริกาถูกถล่มโดยอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมเครือข่าย ต้องมีความสามารถที่จะทำงานกับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เหลือจากการทำลายของอาวุธนิวเคลียร์ เช่น หากโครงข่ายโทรศัพท์ และ เคเบิลถูกทำลายในบางพื้นที่ เครือข่ายจะยังคงทำงานได้โดยการสลับมาใช้โครงข่ายอื่น เช่น โครงข่ายดาวเทียม หรือวิทยุ เป็นต้น นอกจากนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวต้องมีความสามารถในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภท และต่างรุ่นที่มีอยู่ทั่วไปตามฐานทัพต่าง ๆ
ในครั้งนั้นการพัฒนาเครือข่าย ARPANET ได้กระทำร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหม กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งหน่วยงานสำคัญ ๆ เช่นองค์การ NASA ทำให้ ARPANET เริ่มเติบโตโดยเริ่มมีการใช้งานมากขึ้นสำหรับการศึกษาและการวิจัย ถึงแม้จะเริ่มมีการพัฒนาเครือข่ายอื่น ๆ เช่น DECNET และ BITNET ขึ้นมาเป็นคู่แข่ง แต่เพราะข้อดีของ ARPANET ที่เป็นระบบเปิดที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP ทำให้ไม่จำกัดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือ โครงข่ายเชื่อม (Physical Links) แบบใดแบบหนึ่ง ทำให้มันเอาชนะคู่แข่งและกลายมาเป็นตัวเชื่อมเครือข่ายอื่น ๆ ที่เข้ากันไม่ได้ ให้สามารถคุยกันรู้เรื่อง ด้วยเหตุนี้ทำให้ ARPANET ถูกพัฒนามาเป็นเครือข่ายของเครือข่าย หรือ อินเตอร์เน็ต (internet) ในที่สุด ข้อดีของการที่เป็นระบบเปิด คือ สามารถใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อได้หลายแบบทั้ง ไมโครเวพ ดาวเทียม โทรศัพท์ เคเบิล ใยแก้วนำแสง หรือแม้แต่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ และสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบใดก็ได้ รวมทั้งยังบริหารง่ายคือ ผู้ใช้ออกค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนของตน ทำให้อินเตอร์เน็ตขยายตัวง่ายในขณะที่ความซับซ้อนของงานไม่เพิ่มขึ้นเท่าไรนัก ความง่ายในการขยายเครือข่ายและการใช้งาน ได้ทำให้อินเตอร์เน็ตเริ่มได้รับความนิยมนอกประเทศสหรัฐอเมริกา จนกลายมาเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงทั่วโลก
TCP/IP กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สื่อสารระหว่างกันโดยใช้ Transmission Control Protocol (TCP) และ Internet Protocol (IP) รวมเรียกว่า TCP/IP ข้อมูลที่ส่งจะถูกตัดออกเป็นส่วนๆ เรียก packet แล้วจ่าหน้าไปยังผู้รับด้วยการกำหนด IP Address เช่น สมมติเราส่ง e-mail ไปหาใครสักคน e-mail ของเราจะถูกตัดออกเป็น packet ขนาดเล็กๆ หลายๆ อัน ซึ่งแต่ละอันจะจ่าหน้าถึงผู้รับเดียวกัน packets พวกนี้ก็จะวิ่งไปรวมกับ packets ของคนอื่นๆ ด้วย ทำให้ในสายของข้อมูล packets ของเราอาจจะไม่ได้เรียงติดกัน packets พวกนี้จะวิ่งผ่าน ชุมทาง (gateway) ต่างๆ โดยตัว gateway (อาจเรียก router) จะอ่านที่อยู่ที่จ่าหน้า แล้วจะบอกทิศทางที่ไปของแต่ละ packet ว่าจะวิ่งไปในทิศทางไหน packet ก็จะวิ่งไปตามทิศทางนั้น เมื่อไปถึง gateway ใหม่ก็จะถูกกำหนดเส้นทางให้วิ่งไปยัง gateway ใหม่ที่อยู่ถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง เช่นเราติดต่อกับเครื่องในอเมริกา อาจจะต้องผ่าน gateway ถึง 10 แห่ง เมื่อ packet วิ่งมาถึงปลายทางแล้ว เครื่องปลายทางก็จะเอา packets เหล่านั้นมาเก็บสะสมจนกว่าจะครบ จึงจะต่อกลับคืนให้เป็น e-mail
TCP/IP ตัดข้อมูลออกเป็น packet เล็กๆ ส่งไปบนสายส่งข้อมูลที่ไปถึงปลายทางถูกจับมารวมกันอีกครั้ง
การที่ข้อมูลมีลักษณะเป็น packet ทำให้ในสายสื่อสารสามารถที่จะ ขนส่งข้อมูลโดยไม่ต้องจอง (occupies) สายไว้สายจึงสามารถใช้ร่วมกันกับข้อมูลที่ส่งจากเครื่องอื่นได้ ต่างจากโทรศัพท์ที่ขณะใช้งาน จะไม่มีใครใช้สายได้ ดังตัวอย่างในรูปข้าล่างนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ A และ C สื่อสารกันด้วย packet สีดำ ซึ่งใช้สายร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่ง packet ดังกล่าวอาจจะเป็นสัญญาณเสียง (เช่น Internet Phone) ซึ่งเมื่อ packet เดินทางมาถึงก็จะถูกจับมารวมกันให้เป็นเสียงของการพูดคุย ไม่เหมือนโทรศัพท์แบบปรกติ ที่ขณะใช้งานสาย จะไม่สามารถนำไปทำงานอื่น ๆ ได้อีก
2.4 อินทราเน็ตคืออะไร
อินทราเน็ต(Intranet) คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกันอินเทอร์เน็ต แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น เช่น อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง หรือระบบเครือข่ายมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศ เป็นต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเปิดบริการคล้ายกับอินเทอร์เน็ตเกือบทุกอย่าง แต่ยอมให้เข้าถึงได้เฉพาะคนในองค์กรเท่านั้น เป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งาน ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในองค์กร ก็คือ "อินทราเน็ต" นั่นเอง แต่ในช่วงที่ชื่อนี้ยังไม่เป็นที่นิยม ระบบอินทราเน็ต ถูกเรียกในหลายชื่อ เช่น Campus network, Local internet, Enterprise network เป็นต้น
อินทราเน็ตคืออะไร (จาก doothai.com)
ในยุคที่อินเตอร์เน็ตขยายตัวอย่างต่อเนื่อง บริษัทธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ เริ่มหันมาใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ต ในการโฆษณา การขายหรือเลือกซื้อสินค้าและชำระเงินผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในขณะที่องค์กรบางแห่งที่ไม่มุ่งเน้นการบริการข้อมูลอินเตอร์เน็ตระหว่างเครือข่าย ภายนอก แต่จัดสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสารภายในองค์กรและเปิดให้บริการในรูปแบบเดียวกับที่มีอยู่ในโลก ของอินเตอร์เน็ตจริง ๆ โดยมีเป้าหมายให้บริการแก่บุคลากร ในองค์กร จึงก่อให้เกิดระบบอินเตอร์เน็ตภายในองค์กร เรียกว่า "เครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet)" เครือข่ายอินทราเน็ตนั้น เริ่มเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในปี พ.ศ.2539 แต่แท้ที่จริงแล้วได้มีผู้ริเริ่มพูดถึงชื่อนี้ตั้งแต่ สี่ปีก่อนหน้าแล้ว หลังจากนั้นระบบอินทราเน็ตจึงได้ได้รับความนิยมมากขึ้น ในยุคแรก ๆ ระบบนี้มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น แคมปัสเน็ตเวิร์ก (Campus Network) โลคัลอินเตอร์เน็ต (Local Internet) เอนเตอร์ไพรท์เน็ตเวิร์ก (Enterprise Network) เป็นต้น แต่ที่รู้จักกันมากที่สุดคือชื่อ อินทราเน็ต ชื่อนี้จึงกลายเป็นชื่อยอดนิยมและใช้มาจนถึงปัจจุบัน
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินทราเน็ต ก็คือ การใช้งานของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตโดยจำกัดขอบเขตการใช้งาน ส่วนใหญ่อยู่เฉพาะภายในเครือข่ายของหน่วยงานเท่านั้น และนอกจากนี้ระบบ อินทราเน็ตยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตได้เช่นกัน ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานอินทราเน็ตสามารถใช้ทั้งอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กันได้ โดยทั่วไปอินทราเน็ตจะไม่เน้นการเชื่อมต่อไปสู่อินเตอร์เน็ตภายนอก เพื่อสืบค้นหรือใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายนอก หากแต่มุ่งหวังที่จะจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศภายในองค์กร ด้วยการจัดเตรียมคอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลในรูปแบบเดียวกับที่ใช้งานในอินเตอร์เน็ต และขยายเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปถึงบุคลากรทุกหน่วยงาน ให้สามารถ เรียกค้นข้อมูลและสื่อสารถึงกันได้ รูปแบบสำคัญที่มีในอินทราเน็ต คือ การใช้ระบบเวบเป็นศูนย์บริการข้อมูลและข่าวสารภายใน สามารถให้ข้อมูลได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อน ไหวและเป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการใช้งาน โดยได้ผนวกบริการข้อมูลอื่นรวมไว้ในตัวเช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การถ่ายโอนย้ายแฟ้มข้อมูล หรือกระดานข่าว เป็นต้น
อินทราเน็ตจะช่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเอกสารจากเดิมใช้วิธีทำสำเนาแจกจ่าย ไม่ว่าจะเป็นข่าว ประกาศ รายงาน สมุดโทรศัพท์ภายใน ข้อมูลบุคลากร มาจัดทำให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ แทน ผู้ใช้สามารถเรียกค้น ข้อมูลข่าวสารได้เมื่อต้องการ การประยุกต์ใช้อินทราเน็ตในหน่วยงานถือเป็นการปฏิรูปในองค์กรและก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการและขั้นตอนการทำงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ช่วยให้การดำเนินงานเป็น ไปได้อย่างคล่องตัว และลดค่าใช้จ่ายลงได้อย่างมาก หากมีการวางแผนงานและเทคโนโลยีที่เหมาะสมก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรให้สูงขึ้น เครือข่ายอินทราเน็ตที่ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยติดต่อกันผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้น เรียกว่าเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตสามารถมองเป็นส่วนหนึ่งของ เครือข่ายอินทราเน็ตที่สามารถติดต่อ ออกไปหน่วยงานต่าง ๆ นอกองค์กรได้ การที่ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อติดต่อกันแทนที่จะติดต่อกันโดยตรงระหว่างเครือข่ายอินทราเน็ตนั้นทำให้ประหยัด ค่าใช้จ่าย และสามารถใช้ข้อดีของบริการบนอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ตได้มีประโยชน์สูงสุด
ประโยชน์อินทราเน็ต (จาก doothai.com)
ประโยชน์ของการนำอินทราเน็ตเข้ามาประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน สามารถสรุปได้ดังนี้
1. การสื่อสารเป็นแบบสากล ผู้ใช้ระบบอินทราเน็ตสามารถส่งข่าวสารในรูปของ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมาตรฐานสากลระหว่างผู้ร่วมงานภายในหน่วยงานและผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งอยู่ภายนอกหน่วยงานได้
2. อินทราเน็ตใช้มาตรฐานเครือข่าย และโปรแกรมประยุกต์ได้เช่นเดียวกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีใช้อย่างแพร่หลาย และผ่านการยอมรับให้เป็นมาตรฐานตามความนิยมไปโดยปริยาย โดยมีทั้งผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เลือกใช้ได้หลากหลาย
3. การลงทุนต่ำ ด้วยความต้องการด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คล้ายคลึงกับที่ใช้ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกมากมายและราคาต่ำ จึงทำให้ค่าใช้จ่ายการวางระบบเครือข่ายต่ำกว่าเมื่อเทียบกับ ค่าใช้จ่ายที่ต้องลงทุนกับระบบอื่น ๆ
4. ความน่าเชื่อถือ เทคโนโลยีที่ใช้นั้นได้ผ่านการทดลองใช้และปรับปรุง จนกระทั่งอยู่ในสถานภาพที่มีความเชื่อถือได้สูง
5. สมรรถนะ สามารถสื่อสารข้อมูลรองรับการส่งข้อมูลที่ประกอบด้วย ข้อความ ภาพและเสียงได้
ในปัจจุบัน บริษัทธุรกิจชั้นนำในประเทศต่าง ๆ ได้นำเทคโนโลยีอินทราเน็ตมาประยุกต์ใช้ในองค์กรกันอย่างแพร่หลาย สำหรับอินทราเน็ตในประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงของการเริ่มต้น และการขยายแนวความคิดให้กับผู้บริหารองค์กร อีกทั้งองค์กรหลายแห่งยังคงไม่พร้อมทั้งด้านงบประมาณ และบุคลากรที่จะเชื่อมโยงสู่อินเตอร์เน็ตอย่างแท้จริง อินทราเน็ตจึงเป็นช่องทางในการพัฒนาและเตรียมความพร้อมในระยะแรก แต่ก็มีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก
ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
พ.ศ. 2530
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์? วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology หรือ AIT) ได้ติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ในการศึกษา โดยเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย? โดยใช้สายโทรศัพท์ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านทางโมเด็มด้วยระบบ MSHnet และ UUCP ?โดยประเทศออสเตรเลียเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการโทรทางไกลระหว่างประเทศวันละ 4 ครั้ง
พ.ศ. 2535
สำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่าย ?ไทยสาร (Thaisarn : Thai Social/scientific, Academic and Research Network)?? เพื่อพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศจำนวน 6 หน่วยงานเข้าด้วยกัน ซึ่งได้แก่
1. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (NECTEC)
2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
5. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2536 เครือข่ายไทยสารขยายขอบเขตบริการเข้าเชื่อมต่อกับสถาบันการศึกษา? และหน่วยงานของรัฐเพิ่มเป็น 19 แห่ง โดยทาง NECTEC? ได้ทำการเช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับส่งข้อมูล
พ.ศ. 2537
ประเทศไทยมีเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันทั้งสิ้น 35 เครือข่าย เป็นคอมพิวเตอร์รวมทั้งสิ้น 1,267 เครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งจัดได้ว่าประเทศไทยมีเครือข่ายใหญ่เป็นอันดับ 6 ในย่านเอเซียแปซิฟิก รองจากออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี และนิวซีแลนด์
ปัจจุบัน
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีการขยายตัวอย่างมากควบคู่ไปกับเครือข่ายไทยสาร และขยายตัวออกส่วนภูมิภาคแล้ว เครือข่ายของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่จะให้บริการเชิงธุรกิจ ส่วนเครือข่ายไทยสารยังคงให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐโดยไม่หวังผลกำไร
เครือบริการระบบอินเตอร์เน็ต
ข่
องค์กรที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีชื่อว่า
Internet Architecture Board หรือ IAB ซึ่งทำหน้าที่ควบคุม
ดูแลองค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตทั้งหมด รวมถึงประสานงานกับองค์การที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ
เช่น ISO และ ITU-T อีกด้วย IAB มีคณะทำงานอยู่ 2 คณะ คือ
1. Internet Engineering Task Force หรือ IETF
2. Internet Research Task Force หรือ IRTF ซึ่งจะทำหน้าที่จัดทำเอกสารกำหนดรายละเอียด
เกี่ยวกับโพรโตคอล
และมาตรฐานต่าง ๆ รวมถึงทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตอีกด้วย
ผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต (ISP)
ผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider หรือ ISP) หมายถึงหน่วยงานที่ให้บริการในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตต้องสมัครเป็นสมาชิก ISP ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายชั่วโมง รายเดือน หรือรายปี แล้วแต่จะตกลงกัน ตัวอย่างของผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แก่ Ji-net, A-Net Internet,
Internet KSC, Asia Net, Pacific Internet, Loxinfo และ CS Internet เป็นต้น
การตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต อาจพิจารณาจากเงื่อนไขดังต่อไปนี้ คือ
1. ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Reliability) เช่นชื่อเสียงทางธุรกิจของบริษัท จำนวนลูกค้าที่ใช้บริการของบริษัท เป็นต้น
2. ประสิทธิภาพของตัวระบบ (Performance) ซึ่งอาจดูได้จากการเชื่อมต่อง่าย รวดเร็ว และต่อเนื่องหรือไม่ เมื่อต่อแล้วสายโทรศัพท์หลุดบ่อยหรือไม่ การรับส่งข้อมูลสม่ำเสมอเพียงใด
3. มีบริการให้คำปรึกษาการใช้งาน (Technical Support)
4. เนื้อที่ในการให้บริการจัดเก็บข้อมูล เช่นอีเมล์ หรือไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาจากอินเตอร์เน็ต
5. โมเด็มหรือเบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการ ควรตรวจสอบดูว่ารองรับกับอุปกรณ์ที่เรามีอยู่หรือไม่
6. ค่าบริการ นับเป็นองค์ประกอบสำคัญซึ่งจะต้องดูว่าคุ้มค่ากับบริการท
ี่ได้รับหรือไม่
7. บริการเสริมต่าง ๆ
สิ่งที่ได้รับเมื่อสมัครเป็นสมาชิกจากผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
1. User Account ซึ่งประกอบด้วย Username และ Password เพื่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต
2. หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อใช้สำหรับหมุนโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
3. แผ่นดิสก์ หรือซีดีรอม เพื่อใช้ในการติดตั้งค่าในเครื่องคอมพิวเตอร์
4. คู่มือการใช้งาน
อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ควรเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่อยู่ในรูปแบบของข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และอื่น ๆ ดังนั้นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้งาน ควรมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้ คือ
1. เครื่องคอมพิวเตอร์?(Computer) ควรมีลักษณะดังนี้คือ
o หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ควรมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 233 เมกกะเฮิรตซ์ (MHz)
o หน่วยความจำสำรอง (Random Access Memory) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Ram ไม่ควรน้อยกว่า 32 เมกกะไบท์ (MB.)
o ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Hard Disk Drive) ไม่ควรมีขนาดน้อยกว่า 1.2 กิกะไบท์ (Gigabytes
2.โมเด็ม (Modem)? ถือเป็นหัวใจของการใช้งานอินเตอร์เน็ต ควรมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลไม่น้อยกว่า 28.8 Kbps (Kilobit per second) ปัจจุบันโมเด็มที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีขายตามท้องตลาดทั่วไปสามารถรับส่งข้อมูลได้ถึง 56 Kbps ซึ่งมีทั้งแบบติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Internal Modem) และแบบติดตั้งภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ (External Modem)
3.โทรศัพท์?(Telephone) เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยในการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต โดยสามารถใช้สายโทรศัพท์ที่เป็นโทรศัพท์บ้านสายตรง ต่อเข้ากับโมเด็มที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว
ซการที่ข้อมูลมีลักษณะเป็น packet ทำให้ในสายสื่อสารสามารถที่จะ ขนส่งข้อมูลโดยไม่ต้องจอง (occupies) สายไว้สายจึงสามารถใช้ร่วมกันกับข้อมูลที่ส่งจากเครื่องอื่นได้ ต่างจากโทรศัพท์ที่ขณะใช้งาน จะไม่มีใครใช้สายได้ ดังตัวอย่างในรูปข้าล่างนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ A และ C สื่อสารกันด้วย packet สีดำ ซึ่งใช้สายร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่ง packet ดังกล่าวอาจจะเป็นสัญญาณเสียง (เช่น Internet Phone) ซึ่งเมื่อ packet เดินทางมาถึงก็จะถูกจับมารวมกันให้เป็นเสียงของการพูดคุย ไม่เหมือนโทรศัพท์แบบปรกติ ที่ขณะใช้งานสาย จะไม่สามารถนำไปทำงานอื่น ๆ ได้อีก
ประกอบของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
การให้บริการอินเตอร์เน็ตมีหลายรูปแบบ และมีการเปลี่ยนแปลงและเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา สามารถสรุปที่มีการใช้ประโยชน์มากที่สุกดังต่อไปนี้
1. เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) เวิลด์ไวด์เว็บ หรือเครือข่ายใยแมงมุม เหตุที่เรียกชื่อนี้เพราะว่าเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูล จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเรื่อยๆ เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในการเรียกดูเว็บไซต์ต้องอาศัยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ในการดูข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น โปรแกรม Internet Explorer (IE) , Netscape Navigator
2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การติดต่อสื่อสารโดยใช้อีเมลสามารถทำได้โดยสะดวก และประหยัดเวลา หลักการทำงานของอีเมลก็คล้ายกับการส่งจดหมายธรรมดา นั้นคือ จะต้องมีที่อยู่ที่ระบุชัดเจน ก็คืออีเมลแอดเดรส (E-mail address)
องค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย
1. ชื่อผู้ใช้ (User name)
2. ชื่อโดเมน
Username@domain_name
การใช้งานอีเมล สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
1. Corporate e-mail คือ อีเมล ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น u47202000@dusit.ac.th คือ e-mail ของนักศึกษาของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น
2. Free e-mail คือ อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ เช่น Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail และ Chaiyo Mail
3. บริการโอนย้ายไฟล์ (File Transfer Protocol) เป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายไฟล์ผ่านระบบ อินเทอร์เน็ต การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ 1. การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรีเช่น www.download.com
2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) การอัพโหลดไฟล์คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น FTP Commander
4. บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต (Instant Message) การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตคือ การส่งข้อความถึงกันโดยทันทีทันใด นอกจากนี้ยังสามารถส่งสัญลักษณ์ต่างๆ อาทิ รูปภาพ ไฟล์ข้อมูลได้ด้วย การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตเป็นโปรแกรมที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม ICQ (I seek you) MSN Messenger, Yahoo Messenger เป็นต้น
5. บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
1. Web directory คือ การค้นหาโดยการเลือก Directory ที่จัดเตรียมและแยกหมวดหมู่ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว website ที่ให้บริการ web directory เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com
2. Search Engine คือ การค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Search โดยการเอาคำที่เราต้องการค้นหาไปเทียบกับเว็บไซต์ต่างๆ ว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างที่มีคำที่เราต้องการค้นหา website ที่ให้บริการ search engine เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com, www.google.co.th, www.sansarn.com
3. Metasearch คือ การค้นหาข้อมูลแบบ Search engine แต่จะทำการส่งคำที่ต้องการไปค้นหาในเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลอื่นๆ อีก ถ้าข้อมูลที่ได้มีซ้ำกัน ก็จะแสดงเพียงรายการเดียว เว็บไซต์ที่ให้บริการ Metasearch เช่น www.search.com, www.thaifind.com
6. บริการกระดานข่าวหรือ เว็บบอร์ด (Web board)เว็บบอร์ด เป็นศูนย์กลางในการแสดงความคิดเห็น มีการตั้งกระทู้ ถาม-ตอบ ในหัวข้อที่สนใจ เว็บบอร์ดของไทยที่เป็นที่นิยมและมีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นมากมาย คือ เว็บบอร์ดของพันธ์ทิพย์ (www.pantip.com)
7. ห้องสนทนา (Chat Room)ห้องสนทนา คือ การสนทนาออนไลน์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีการส่งข้อความสั้นๆ ถึงกัน การเข้าไปสนทนาจำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์ที่ให้บริการห้องสนทนา
http://classroom.hu.ac.th/courseware/Network/chapter1.html
www.sanook.com www.pantip.com
http://202.143.137.109/araya/int.html
การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตหลายคนอาจเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยผ่านทางระบบเครือข่ายของสำนักงาน บริษัท หรือสถานศึกษาของตน ซึ่งตามปกติแล้วหากเป็นหน่วยงานหรือสำนักงานใหญ่ๆ จะต่อคอมพิวเตอร์เป็นระบบภายในองค์กร (LAN) ซึ่งมักจะเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ (ISP) ผ่านสายนำสัญญาณความเร็วสูง (High-Speed Leased Line) แทนที่จะเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม (Modem) แต่ถ้าหากว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในวง LAN ที่ไม่โตมากนักก็อาจใช้เชื่อมต่อผ่านโมเด็มก็ได้ เพราะจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระบบ แต่อาจจะมีปัญหาในเรื่องความเร็วในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตบ้างเล็กน้อย
ภาพแสดงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตผ่านทางผู้ให้บริการ
ผู้ให้บริการเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต เรียกว่า ISP (Internet Service Provider)
หรือที่เรียกกันว่า ไอเอสพี จะเป็นองค์กรที่ทำการติดตั้งและดูแลเครื่องให้บริการ (Server) ที่ต่อตรงเข้ากับระบบ อินเทอร์เน็ต ซึ่งอนุญาตให้ผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกขององค์กรนำระบบของตนเองเข้าไปเชื่อมต่อได้ ดังนั้น ISP ก็เปรียบเสมือนช่องทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งหลังจากที่เราเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แล้ว เราก็สามารถเข้าไปยัง ส่วนใด ๆ ก็ได้ในระบบอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่อผ่านทาง ISP ยังแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น 2 ประเภทตามความต้องการ
ใช้งานดังนี้
1. การเชื่อมต่อแบบองค์กร เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นเข้าเชื่อมต่อกับ ISP เพื่อเชื่อมโยง เข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ตได้เลย
2. การเชื่อมต่อส่วนบุคคล เป็นการเชื่อมต่อของบุคคลธรรมดาทั่วไปซึ่งสามารถ่ขอเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ อาจจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเดม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อแบบ Dial-Up โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง SLIP หรือ PPP account
TCP/IP : ภาษาหลักในอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมากทั่วโลก แต่ละคนก็ใช้คอมพิวเตอร์ต่างแบบต่างรุ่นกัน ดังนั้นการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องอาศัยภาษากลางที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้ากันกันได้ ซึ่งภาษากลางนี้มีชื่อทางเทคนิคว่า "โปรโตคอล" (Protocol) สำหรับโปรโตคอลเป็นมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตมีชื่อเรียกว่า TCP/IP ซึ่งได้แพร่หลายไปทั่วโลกพร้อมๆ กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเป็นโปรโตคอลที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
หลักการทำงานของโปรโตคอล TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่งไปยังเครื่องอื่นเป็นส่วนย่อยๆ ( เรียกว่า แพ็คเก็ต : packet ) และส่งไปตามเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยการกระจายแพ็กเก็ตเหล่านั้นไปหลายทาง โดยในแต่ละเส้นทางจะไปรวมกันที่จุดปลายทาง และถูกนำมารวมกันเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง
รูปแบบการทำงานของโปรโตคอล TCP/IP ที่มีการแบ่งข้อมูลและจัดส่งเป็นส่วนย่อย จะสามารถช่วยป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นสในการติดต่อสื่อสารได้ เพราะถ้าข้อมูลสูญหายก็จะเกิดเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นมิใช่หายไปทั้งหมด ซึ่งคอมพิวเตอร์ปลายทางสามารถตรวจหาข้อมูลที่สูญหายได้ และติดต่อให้คอมพิวเตอร์ต้นทางส่งเพียงเฉพาะข้อมูลที่หายไปมาใหม่ได้ โปรโตคอล TCP/IP ถูกคิดค้นโดยรัฐบาลสหรัฐ และถูกนำมาใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพี่อป้องกัน ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ในกรณีที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ใหญ่ในรัฐใดรัฐหนึ่งถูกโจมตีจนได้รับความเสียหาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนที่เหลือก็ยังสามารถติดต่อถึงกันได้อยู่ เพราะข้อมูลจะถูกโอนย้ายไปตามเส้นทางอื่นในเครือข่ายแทน
SLIP/PPP : ช่วยสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์
ในการส่งข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตนั้น จำเป็นต้องส่งผ่านทั้งในระบบสายสัญญาณ 6 สาย ในระบบLAN และระบบสายโทรศัพท์ประกอบกัน ดังนั้นเพื่อให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างราบรื่น จึงต้องมีโปรโตคอล เพิ่มขึ้นอีก ซึ่งได้แก่ โปรโตคอล SLIP (Serial Line Internet Protocol) และ PPP (Point-to-Point Protocol) ซึ่งทำงานบน TCP/IP อีกทีหนึ่ง
SLIP
โปรโตคอล SLIP ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ TCP/IP สามารถสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์เพื่อส่งผ่านข้อมูลระหว่างระบบแลน (LAN) กับระบบแวน (WAN) ได้ซึ่งก็ได้รับความนิยม และเป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในระบบ UNIX ได้นำโปรโตคอลนี้ติดตั้งไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ นั่นหมายความว่าทุกเครื่องที่ใช้ระบบ UNIX จะมีโปรโตคอล SLIP อยู่ในตัวและสามารถใช้งานได้ทันที
PPP
เนื่องจากปรากฎว่าโปรโตคอล SLIP เกิดมีปัญหาไม่เข้ากันกับโปรโตคอลบางตัวที่ระบบแลน (LAN) นั้นใช้อยู่เดิมจึงได้มีการพัฒนาโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ในชื่อ PPP เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ดังนั้น PPP จึงเป็นโปรโตคอลที่สามารถใช้ร่วมกับโปรโตคอลอื่นๆ ได้ดี อีกทั้งยังเพิ่ม ระบบการตรวจสอบข้อมูล การรักษาความปลอดภัย และการบีบอัดข้อมูลซึ่งทำงานได้ดีกว่า SLIP และก็คงถูกใช้เป็นมาตรฐานต่อไป
IP address : ระบุที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์
เราอาจสงสัยเกี่ยวกับการทำงานของอินเทอร์เน็ตว่า รู้จักที่อยู่ของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้อย่างไร ลักษณะก็จะเหมือนกับเมื่อเราต้องการหาบ้านหลังหนึ่งในเมือง ขนาดใหญ่ไห้พบ เราต้องทราบข้อมูล เช่น บ้านเลขที่ ถนน ตำบล เป็นต้น ในอินเทอร์เน็ต ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเราต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เราก็จะต้องการที่อยู่ของ เครื่องนั้นๆ บนอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า ไอพี แอดเดรส (IP address)
IP
address เป็นหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก
โดยประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดต่อกัน โดยมีจุด (.) เป็นสัญลักษณ์ แบ่งตัวเลขเป็นชุด ซึ่งแต่ละชุดจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ถึง 255
ตัวอย่าง : IP address 208.49.20.16 เนื่องจาก IP address เป็นหมายเลขที่ไม่ซ้ำกัน จึงได้เกิดหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแล เรื่องการจัดสรร IP address โดยตรง หน่วยงานนี้มีชื่อว่า interNIC (Internet Network Information Center) สำหรับผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตทั่วๆไปจะได้รับ
IP address จากผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider) ซึ่งได้ทำการขอ IP address เตรียมไว้ ล่วงหน้าแล้ว
Domain Name : อินเทอร์เน็ตแอตเดรส
ถึงแม้การทำงานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะใช้ IP address แต่เนื่องจากเป็นชุดตัวเลขที่จดจำ
ได้ยาก ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการนำอินเทอร์เน็ตแอดเดรส หรือ โดเมนเนมมาใช้ กล่าวคือการนำตัวอักษรที่จำได้ง่ายมาใช้แทน IP address อินเทอร์เน็ตแอตเดรสจะไม่ซ้ำกันและเพื่อสะดวกในการจดจำชื่อโดเมน ดังนั้นโดเมนเนม มักนิยมตั้งให้สอดคล้องกับชื่อของบริษัท หรือชื่อองค์กรผู้เป็นเจ้าของเหล่านี้เป็นต้น
208.49.20.16 < ---------------> www.srithai.com
(IP Address) (โดเมนเนม)
แม้ว่าเราใช้โดเมนเนม แต่เนื่องจากรูปแบบการสื่อสารข้อมูลในอินเทอร์เน็ตใช้ IP address จึงต้องมีการแปลงโดเมนเนมกลับไปเป็น IP address โดยจะมีการจัดตั้ง คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะที่มีชื่อเรียกว่า DNS Serve
การเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นสามารถทำได้หลายแบบ
ซึ่งแต่ละแบบจะต้องใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันไป ดังนี้
? การเชื่อมต่อแบบบุคคล เป็นการเชื่อมต่อของบุคคลธรรมดาทั่วไป
ซึ่งสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้เครื่อง
คอมพิวเตอร์ ที่ใช้อยู่ อาจจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่าน
ทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ ที่เรียกว่า โมเด็ม (Modem) ซึ่ง
ค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อ
แบบ Dial-Up โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่าน
ทาง SLIP หรือ PPP account
? การเชื่อมต่อแบบองค์กร เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่าย
ใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server)
ของเครือข่ายนั้นเข้าเชื่อมต่อกับ ISP เพื่อเชื่อมโยง เข้าสู่ระบบ
อินเทอร์เน็ตได้เลย โดยผ่านอุปกรณ์ชี้เส้นทาง Router และ
สายสัญญาณเช่า (ตลอด 24 ชั่วโมง)
อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
1. คอมพิวเตอร์ ควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาของหน่วย
ประมวลผลตั้งแต่ 166 MHz มีหน่วยความจำหลัก RAM ตั้งแต่ 16 MB ขึ้นไป
2. โมเด็ม (Modulator Demodulator Machine) คืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลง
ข้อมูลที่ได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ไปเป็นสัญญาณไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง
(Impulse) ซึ่ง สามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ทั่วไปได้ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์
นั้นจะเป็นสัญญาณ อนาล็อก ส่วนสัญญาณข้อมูลที่มาจากคอมพิวเตอร์จะ
เป็นสัญญาณดิจิตอล ทำให้ต้องใช้โมเด็มในการแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็น
ดิจิตอลและดิจิตอลเป็นอนาล็อก ซะก่อน โมเด็มสามารถแยกได้เป็น 3 ชนิด
แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้
• โมเด็มแบบติดตั้งภายใน โมเด็มชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นวงจร
อิเล็กทรอนิกส์นำมาติดตั้งเข้ากับภายใน ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์โดย
ตรง รูปร่างจะแตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตจะออกแบบมาสำหรับ
คอมพิวเตอร์ชนิดนั้นๆ โมเด็มชนิดนี้จะใช้ไฟฟ้าจากสล็อตบน
เมนบอร์ดทำให้เราไม่ต้องต่อไฟหม้อแปลง ต่างหากจากภายนอก
ส่วนมากโมเด็มติดตั้งภายในจะทำการติดตั้ง ผ่านทาง Port อนุกรม
RS-232C รวมอยู่ด้วย ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่อง port อนุกรมรุ่นเก่า
ที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อโมเด็มกับเครื่อง
คอมพิวเตอร์จะต่อทาง slot มาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์และ
เมื่อติดตั้งแล้วจะไม่เปลือง เนื้อที่ภายนอกใดๆ เลย และโมเด็มสำหรับ
ติดตั้งภายในจะมี จุดให้ผู้ใช้เสียบสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็มโดยใช้
ปลั๊กโทรศัพท ์ธรรมดา แบบ RJ-11 และมีลำโพงประกอบด้วย
• โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมแบนๆ
ภายในมีวงจรโมเด็ม ไฟสถานะ และลำโพง เนื่องจากต่อภายนอกจึง
ต้องมี adapter แปลงสัญญาณไฟเลี้ยงวงจร และจะมีสายต่อแบบ 25 ขา
DB25 เอาไว้ใช้เชื่อมต่อผ่านทาง port อนุกรม RS - 232C
• PCMCIA (Personal Computer Memory Card International
Asociation) จะเป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็ที่สุดคือ มีขนาดเท่าบัตรเครดิต
และหนาเพียง 5 มิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่งโมเด็มชนิดนี้ออกแบบมาโดยให้
คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคโดยเฉพาะ ซึ่งในปัจจุบันโมเด็มชนิดนี้จะมีความเร็ว
พอๆ กับโมเด็มที่ติตตั้งภายนอกและภายใน ในปัจจุบันนี้โมเด็มมีความ
เร็วสูงสุดที่ 56 Kbps (Kilobyte per second) โดยจะใช้ มาตรฐาน V.90
เป็นตัวกำหนด
โมเด็มชนิดติดตั้งภายนอก ภายใน และ PCMCIA
ภาพแสดงการเชื่อมต่อผ่านโมเด็มสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
• คู่สายโทรศัพท์ (Dial line) เป็นคู่สายโทรศัพท์บ้านสำหรับเชื่อมต่อกับโมเด็ม
• บัญชีผู้ใช้งาน (Account) จากผู้ให้บริการเอกชน ISP หรือขององค์กร/หน่วย
งานต่างๆ เช่น SchoolNet 1509 ซึ่งจะกำหนดหมายเลขโทรศัพท์สำหรับการ
เชื่อมต่อ ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password)
การเชื่อมต่อแบบบุคคล
• การเชื่อมต่อเริ่มจากผู้ใช้งาน (User) หมุนโมเด็มไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของ
ผู้ให้บริการที่มีโมเด็มต่ออยู่เช่นกัน สัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จะถูก
เปลี่ยนจากสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาล็อก ผ่านคู่สายโทรศัพท์ไปยังโมเด็มฝั่ง
ตรงข้ามเพื่อเปลี่ยนกลับสัญญาณอนาล็อก เป็นดิจิตอลอีกครั้ง
สัญญาณขอเข้าเชื่อมเครือข่ายจะถูกส่งมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ให้
บริการเพื่อตรวจสอบสิทธิการใช้งานจาก Username และ Password ว่าถูกต้อง
หรือไม่? ถ้าถูกต้องก็จะได้รับอนุญาตให้เชื่อมต่อได้ สามารถจะทำการรับ-ส่งไฟล์
รับ-ส่งอีเมล์ สนทนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ และท่องโลกกว้างไซเบอร์สเปซ
ทาง WWW ได้ทันที
การเชื่อมต่อแบบองค์กร
จะเป็นการเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมาก
ที่ถูกต่อ เข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง
ให้บริการ (Server) ด้านต่างๆ และมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีอุปกรณ์ที่สำคัญดังนี้
1. คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) ควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาของหน่วยประมวลผลตั้งแต่ 500 MHz มีหน่วยความจำหลัก RAM ตั้งแต่ 512 MB ขึ้นไป จำนวนเครื่องขึ้นอยู่กับความต้องการและปริมาณการใช้งานขององค์กร
2. ดิจิตอลโมเด็ม (NTU) และอุปกรณ์ชี้เส้นทาง (Router) คืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ดิจิตอลและกำหนดเส้นทางในการเชื่อมต่อด้วยหมายเลข IP Address ไปยังเครือข่ายอื่นๆ
3. คู่สายเช่า (Lease line) เป็นคู่สายสัญญาณเช่าสำหรับการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา ไม่ต้องมีการหมุนหมายเลขโทรศัพท์ในการเชื่อมต่อ
4. สิทธิการใช้งานเชื่อมต่อ (Air time) จากผู้ให้บริการเอกชน ISP หรือขององค์กร/หน่วยงานต่างๆ เช่น SchoolNet 1509 ซึ่งจะกำหนดหมายเลข IP Address ของกลุ่มเครื่องในเครือข่ายจำนวนหนึ่งมาให้สำหรับใช้กับอุปกรณ์ชี้เส้นทางและเครื่องแม่ข่าย
การเชื่อมต่อแบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เหมาะสำหรับองค์กรที่มีปริมาณการใช้งานของเครือข่ายสูง มีเครื่องคอมพิวเตอร์/สมาชิก เชื่อมต่อเป็นเครือข่ายภายในองค์กรเป็นจำนวนมาก มีข้อมูลที่จะนำเสนอสู่สาธารณชนปริมาณมาก และปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech04/38/connect.html
http://www.skn.ac.th/a_cd/internet/via_internet.html
ระบบเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ และเครือข่ายย่อย จำนวนมากเชื่อมต่อกัน เป็นจำนวนหลายร้อยล้านเครื่อง ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ข้อความ และเสียง โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายอยู่ทั่วโลก
อินเทอร์เน็ต มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุผลทางการทหาร เนื่องจากในยุคสงครามเย็น เมื่อประมาณ พ.ศ.2510 ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ และฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา โดยต่างฝ่าย ต่างก็กลัวขีปนาวุธ ของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยผู้นำสหรัฐอเมริกา วิตกว่า ถ้าหากทางฝ่ายรัฐเซีย ยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์เข้ามา ถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุดของตนเองขึ้นมา อาจจะทำให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันเสียหายได้ จึงได้สั่งให้มีการวิจัย เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชนิดใหม่ขึ้นมา เพื่อป้องกันความเสียหาย โดยมีจุประสงค์ว่า ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง ถูกทำลาย แต่เครื่องอื่นก็จะต้องใช้งานต่อไปได้ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลระบบเครือข่าย ในขณะนั้นมีชื่อว่า ARPA (Advanced Research Projects Agency) ดังนั้นชื่อเครือข่ายในขณะนั้น จึงถูกเรียกว่า ARPANET ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 เครือข่ายขยายใหญ่โต เพิ่มมากขึ้น จากการระดม นักวิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมา เพื่อความเหมาะสม จึงได้มาตรฐาน TCP/IP และนอกจากประโยชน์ด้านงานวิจัย และทางทหารแล้ว ยังได้นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านธุรกิจ และการพาณิชย์อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และนำมาใช้ประโยชน์ ในการติดต่อข้อมูลข่าวสารมากมาย สำหรับในประเทศไทยได้มีการเริ่มต้นติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยติดต่อกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยเชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2530 ต่อมากระทวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน ได้มอบหมายให้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ให้ทุนสนับสนุน แก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อศึกษา ถึงการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ 12 แห่งเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2531 หลังจากนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เป็นเกตเวย์อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยและเริ่มให้บริการทางอินเทอร์เน็ต เต็มรูปแบบในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทย ร่วมลงทุนกับหน่วยงานของรัฐ และเอกชน เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ 2 รายคือบริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด และบริษัท อินเทอร์เน็ต คอมเมอร์เชียล แอนด์โนว์เลจเซอร์วิส จำกัด ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น KSC คอมเมอร์เชียลอินเทอร์เน็ต จำกัด
มาตรฐานการสื่อสารด้านอินเทอร์เน็ต
โปรโตคอล (Protocol) คือตัวกลาง หรือภาษากลาง ที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสาร ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงกัน ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ นับร้อยล้านเครื่องซึ่งแต่ละเครื่องมีความแตกต่างกัน ทั้งรุ่นและขนาดของคอมพิวเตอร์ ถ้าขาดโปรโตคอลก็จะไม่สามารถที่จะติดต่อสื่อสาร ให้เข้าใจกันได้ เพราะฉะนั้นโปรโตคอล ก็เปรียบเหมือนเป็นล่ามที่ใช้แปลภาษา ของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มาตรฐานนี้เรียกว่า TCP/IP การทำงานของ TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่า แพ็คเก็ต (Packet) แล้วส่งไปตามเส้นทางต่าง ๆ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะกระจายแพ็คเก็ตออกไปหลายเส้นทาง แพ็คเก็ตเหล่านี้ จะไปรวมกันที่ปลายทาง และถูกนำมาประกอบรวมกัน เป็นข้อมูลที่สมบูรณ์อีกครั้ง
ระบบไอพีแอดเดรส (IP Address) เมื่อเราต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เราจะต้องทราบที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น คอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP จะมีหมายเลขประจำเครื่องที่ไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก มีชื่อเรียกว่า ไอพีแอดเดรส ไอพีแอดเดรสจะมีลักษณะเป็นตัวเลข 4 ชุดที่มีจุด ( . ) คั่น เช่น 193.167.15.1 เป็นต้น ตัวเลขแต่ละชุด จะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 คอมพิวเตอร์ ที่มีไอพีแอดเดรสเป็นของ ตัวเองและใช้เป็นที่เก็บเว็บเพจ เราเรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือโฮสต์ (Host) ส่วนองค์กรหรือผู้ควบคุมดูแลและจัดสรรหมายเลขไอพีแอดเดรส เราเรียกว่า อินเทอร์นิก (InterNIC)
โดเมนเนม (Domain Name)
โดเมนเนม (Domain Name) เป็นระบบที่นำตัวอักษร ที่จำได้ง่ายเข้ามาแทนไอพีแอดเดรส ที่เป็นตัวเลข แต่ละโดเมนจะมีชื่อไม่ซ้ำกัน และมักจะถูกตั้งให้คล้ายกับชื่อของบริษัทหน่วยงาน หรือองค์กรของผู้เป็นเจ้าของ เพื่อความสะดวกในการจดจำชื่อ
ความหมายโดเมนเนม
โดเมนเนม ความหมาย
Com กลุ่มองค์การค้า (Commercial)
Edu กลุ่มการศึกษา (Education)
Gov กลุ่มองค์กรรัฐบาล (Governmental)
Mil กลุ่มองค์กรทหาร (Military)
Net กลุ่มองค์การบริหาร (Network Service)
Org กลุ่มองค์กรอื่น ๆ (Organizations)
ความหมายโดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเทศ
โดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเทศ ความหมาย
au ออสเตรเลีย (Australia)
fr ฝรั่งเศส (France)
th ไทย (Thailand)
jp ญี่ปุ่น (Japan)
uk อังกฤษ (United Kingdom)
โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์
โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ (Domain Name Server) ถึงแม้ระบบโดเมนเนม จะทำให้จดจำชื่อได้ง่าย แต่การทำงานจริง ของอินเทอร์เน็ต ก็จำเป็นต้องใช้ไอพีแอดเดรส อย่างเดิม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีระบบ ที่จะทำการแปลงโดเมนเนม ไปเป็นไอพีแอดเดรส โดยจะต้องจัดการให้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ทำหน้าที่ในการแปลงโดเมนเนม ไปเป็นไอพีแอดเดรส เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้ จะถูกเรียกว่าโดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ (Domain Name Server) หรือ ดีเอ็นเซิร์ฟเวอร์ (DNS Server)
ตำแหน่งอ้างอิงเว็บเพจ
เป็นตำแหน่งที่ใช้อ้างอิงเว็บเพจต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตโดยพิมพ์ URL เข้าไปในช่อง Address ของเว็บเบราเซอร์โดย URL ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้คือ
www.hotmail.com/data.html
www คือ การแสดงว่าขณะนี้กำลังใช้บริการ www
hotmail คือ โดเมนเนมของเว็บไซต์ที่กำลังใช้งานอยู่
data.html คือ ตำแหน่งของไฟล์ที่เก็บเว็บเพจหน้านั้นอยู่
การเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่อินเทอร์เน็ตผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องมีบีประจำเครื่อง (Account Number) ที่ศูนย์บริการ แล้วเชื่อโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องที่ศูนย์บริการ โดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านทางโมเด็ม (Modem) และจะมีซอฟต์แวร์ทำหน้าที่แปลงคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เป็นเทอร์มินัลของคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์บริการเมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ผู้ใช้จะมี User ID หรือ User name หรือ Login name และ Password ผู้ใช้จะต้องจัดเตรียมและเชื่อมต่ออุปกรณ์ดังนี้
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่จำกัดชนิดและยี่ห้อ ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้จะใช้เครื่อง PC
2.โมเด็ม ทำหน้าที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ ความเร็วของโมเด็มเป็นความเร็วในการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ โมเด็มมีขนาดความเร็วต่าง ๆ กัน โมเด็มมีขนาดความเร็วสูงตั้งแต่ 14.4 Kbps ขึ้นไป ส่วนใหญ่แล้วจะมีความสามารถรับส่ง Fax ได้ด้วย เรียกกว่า Fax Modem โมเด็มที่มีความเร็วสูงจะมีราคาแพงกว่า ความเร็วของโมเด็มวัดเป็นบิดต่อวินาที (bps)
โมเด็มแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.โมเด็มภายใน (internal modem) เป็นการ์ดที่เสียบลงบนสล็อต (slot) ของเมนบอร์ด
2.โมเด็มภายนอก (External nodem) เป็นกล่องขนาดเล็ก มีพอร์ต (port) เพื่อเสียบสัญาณจากคอมพิวเตอร์เข้าโมเด็ม มีช่องสำหรับเสียบสายโทรศัพท์ และมีสายไฟจากโมเด็มเพื่อต่อเข้ากับไฟบ้าน
3. โทรศัพท์ เพื่อเชื่อมต่อสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็ม เพื่อให้สัญญาณข้อมูลส่งผ่านสายโทรศัพท์ ดังนั้นผู้ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ต จะต้องมีโทรศัพท์หนึ่งเลขหมายในการต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต
4.ซอฟต์แวร์ ในการใช้อินเทอร์เน็ตจะมีโปรแกรมที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ประเภทคือ 1.โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อเพื่อจัดการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอินเทอร์เน็ต ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Window 95 จะมีโปรแกรม dial-Up Networking ที่ใช้ในการสื่อสารอยู่แล้ว
2. โปรแกรมที่ใช้รับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เช่น Eudora
3. โปรแกรมที่ใช้ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เรียกกว่า บราวเซอร์ (Browser) เช่น Netscape Navigator, Internet Exploer
5.ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)
ผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นศูนย์บริการให้กับสมาชิก ซึ่งมีทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยศูนย์บริการเหล่านี้จะต้องเสียเงินค่าเช่าสายสัญญาณไปต่างประเทศให้กับรัฐ
ข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์
1. เว็บเพจ(Web Page) คือ ข้อมูลที่แสดงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นเอกสารที่สามารถเชื่อมโยงไปยังหน้า อื่น ๆ ได้
2. เว็บไซต์ (Web Site) คือ เว็บเพจทั้งหลายที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต และบรรจะไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ เช่น เว็บไซต์ www.google.com
3. โฮมเพจ (Home Page) คือ เว็บเพจหลักของเว็บไซต์ ภายในโฮมเพจจะมีจะเชื่อมต่อเปิดเข้าไปชม เว็บเพจอื่น ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์นี้ได้
4. โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ ในการเปิดเว็บเพจ และสามารถรับส่ง ไฟล์ทางอินเทอร์เน็ต โดยการแปลงภาษา HTML แล้วแสดงผลคำสั่งให้ออกมาเป็นรูปภาพเสียง และข้อมูล ต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันได้แก่ NCSA Mosaic, Netscape Navigator, Internet Explorer และ Opera
โปรแกรมที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ Internet Explorer
5. ภาษาHTML (Hyper TextMarkup Language) เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยสามารถใส่จุดเชื่อมโยง (Link) ไปยังเอกสารหน้าอื่น ๆ ซึ่งการเชื่อมโยงนี้ถูกเรียกว่า Hypertextหรือเอกสาร HTML ซึ่งเว็บเพจจะใช้รหัส คำสั่ง สำหรับควบคุมการแสดงผลข้อความ หรือรูปภาพในลักษณะต่าง ๆกันได้ โดยใช้สิ่งที่เรียกว่า แท็ก (Tag) ซึ่งแท็กจะกำหนด ให้เบราเซอร์แปลความหมายของรหัสคำสั่งดังกล่าว เป็นข้อมูลของเว็บเพจและคุณสมบัติ
พื้นฐานต่าง ๆ ด้วยนอกจากนี้ยังได้มีการนำเอาโค้ดภาษาโปรแกรมที่เรียกว่าสคริปต์ (Script) มาช่วยเพิ่ม ความสามารถ และสีสันให้เว็บเพจมากขึ้น
6. WYSIWYG (What-You-See-Is-What-You-Get) โปรแกรมแบบวิสสิวิกนี้ ใช้สร้างเว็บเพจโดยการนำรูปภาพ
หรือข้อความมาวางทับบนเว็บเพจ และเมื่อแสดงผลเว็บเพจ จะปรากฎหน้าเอกสารของเว็บเพจ เหมือนกับขณะที่
ทำการสร้าง การใช้งานจะใช้งานได้ง่ายกว่า การเขียนด้วยภาษา HTMLมาก โปรแกรมที่สามารถตอบสนอง การ
สร้างเว็บเพจแบบ WYSIWYG มีอยู่หลายโปรแกรมให้เลือกใช้เช่น FrontPage, Dreamweaver เป็นต้น
บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ที่เราสามารถค้นคว้า และรับส่งข้อมูลไปมา ระหว่างกันได้ อินเทอร์เน็ตจึงมีประโยชน์สำหรับยุคสังคมและข่าวสาร ในปัจจุบันอย่างมาก อินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่ เหมือนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ส่งข้อมูลที่เราต้องการมาให้ถึงบ้านหรือที่ทำงาน ภายในไม่กี่นาที จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก โดยจัดเป็นบริการในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
1. เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) คือบริการค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดีย บนอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศอาจจัดอยู่ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือ เสียงก็ได้ ข้อดีของบริการประเภทนี้คือ สามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น หรือเว็บไซด์อื่นได้ง่าย เพราะใช้วิธีการของไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) โดยมีการทำงานแบบไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูล จากเครื่องที่ให้บริการซึ่งเรียกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยอาศัยโปรแกรม ที่ใช้ดูข้อมูลเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ซึ่งผลที่ได้จะมีการแสดงเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งในปัจจุบันมีการผนวกรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรงตัวอย่างเช่น www.yahoo.com สามารถค้นหาและเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเรื่องราวต่างๆ เช่น การศึกษาการท่องเที่ยว โรงแรมต่าง ๆ การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เป็นต้น
2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “อีเมล์” (E-mail) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน และกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถส่งข้อความ ไปยังสมาชิกที่ติดต่อด้วย โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และสามารถแนบไฟล์ข้อมูลไปพร้อมกับจดหมายได้อีกด้วย การส่งจดหมายในลักษณะนี้ จะต้องมีที่อยู่เหมือนกับการส่งจดหมายปกติ แต่ที่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เราเรียกว่า E-mail Address
3. การโอนย้ายข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อีกรูปแบบหนึ่ง ใช้สำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ FTP Server การโอนย้ายไฟล์จาก FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้ เรียกว่า ดาวน์โหลด (Download) และการโอนย้ายไฟล์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ไปยังไปยัง FTP Server เรียกว่า อัพโหลด
4. การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) คือ บริการที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความที่ต้องการสืบค้น เข้าไป โปรแกรมจะทำการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ให้ภายในเวลาไม่กี่นาที โปรแกรมประเภทนี้เราเรียกว่าSearch Engines เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สามารถจำชื่อเว็บไซด์ บางเว็บได้ ก็สามารถใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล ในลักษณะนี้ได้ เว็บไซด์ที่ทำหน้าที่เป็น Search Engines มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น google.com , yahoo.com , sanook.com ฯลฯ เป็นต้น
5. การสนทนากับผู้อื่นบนอินเทอร์เน็ต จะคล้ายกับการใช้โทรศัพท์แต่แตกต่างกันที่ เป็นการสื่อสาร ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะใช้ไมโครโฟน และลำโพงที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ในการสนทนา
6. กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (News Group or Use Net) เป็นบริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นลงไปบริเวณกระดานข่าวได้ มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะสนใจเรื่องราวที่แตกต่างกันไป เช่นการศึกษา การท่องเที่ยว การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นต้น
7. การสื่อสารด้วยข้อความ IRC (Internet Relay Chat) เป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น โดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน ซึ่งจำนวนผู้ร่วมสนทนาอาจมีหลายคนในเวลาเดียวกัน ทุกคนจะเห็นข้อความ ที่แต่ละคนพิมพ์เหมือนกับว่ากำลังนั่งสนทนาอยู่ในห้องเดียวกัน โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารได้แก่โปรแกรม mIRC โปรแกรม PIRCH และโปรแกรม Comic Chat นอกจากโปรแกรม IRC แล้ว ในปัจจุบันนี้ภายในเว็บไซต์ ยังเปิดให้บริการห้องสนทนาผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ได้อีกด้วย
2.1 อินเทอร์เน็ต คืออะไร
อินเทอร์เน็ต(Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้มา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
IP (Internet protocal) Address
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน internet ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (Internet assigned number authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก เป็น Public address ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (Asia pacific network information center) แต่การขอ IP address ตรง ๆ จาก APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย Router ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง
ถ้าท่านมีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP address จาก ISP (Internet Service Provider) เพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่า Bandwidth เช่น 2 Mbps แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็จะได้ความเร็วในปัจจุบันไม่เกิน 56 Kbps ซึ่งเป็น speed ของ MODEM ในปัจจุบัน
IP address คือเลข 4 ชุด หรือ 4 Byte เช่น 203.158.197.2 หรือ 202.29.78.12 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นสถาบันการศึกษาโดยทั่วไปจะได้ IP มา 1 Class C เพื่อแจกจ่ายให้กับ Host ในองค์กรได้ใช้ IP จริงได้ถึง 254 เครื่อง เช่น 203.159.197.0 ถึง 203.159.197.255 แต่ IP แรก และ IP สุดท้ายจะไม่ถูกนำมาใช้ จึงเหลือ IP ให้ใช้ได้จริงเพียง 254 หมายเลข
1 Class C หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.255.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 254
1 Class B หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 66,534
1 Class A หมายถึง Subnet mask เป็น 255.0.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 16,777,214
2.2 ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
2.2.1 เป็นแหล่งข้อมูลที่ลึก และกว้าง เพราะข้อมูลถูกสร้างได้ง่าย แม้นักเรียน หรือผู้สูงอายุก็สร้างได้
2.2.2 เป็นแหล่งรับ หรือส่งข่าวสาร ได้หลายรูปแบบ เช่น mail, board, icq, irc, sms หรือ web เป็นต้น
2.2.3 เป็นแหล่งให้ความบันเทิง เช่น เกม ภาพยนตร์ ข่าว หรือห้องสะสมภาพ เป็นต้น
2.2.4 เป็นช่องทางสำหรับทำธุรกิจ สะดวกทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย เช่น e-commerce หรือบริการโอนเงิน เป็นต้น
2.2.5 ใช้แทน หรือเสริมสื่อที่ใช้ติดต่อสื่อสาร ในปัจจุบัน โดยเสียค่าใช้จ่าย และเวลาที่ลดลง
2.2.6 เป็นช่องทางสำหรับประชาสัมพันธ์สินค้า บริการ หรือองค์กร
2.3 ประวัติความเป็นมา
2.3.1 ประวัติในระดับนานาชาติ
- อินเทอร์เน็ต เป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2503(ค.ศ.1960)
- พ.ศ.2512(ค.ศ.1969) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีพ.ศ.2512 นี้เองได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลองแอนเจลิส สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีพ.ศ.2518(ค.ศ.1975) จึงเปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่ หน่วยงานการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ(Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก IAB(Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ใน Internet IETF(Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
- พ.ศ.2526(ค.ศ.1983) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform และสื่อสารกันได้ถูกต้อง
- การกำหนดชื่อโดเมน(Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ พ.ศ.2529(ค.ศ.1986) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย(Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2533(ค.ศ.1990) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ(National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
- ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ตัดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
2.3.2 ประวัติความเป็นมาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
- อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปีพ.ศ.2530(ค.ศ.1987) โดยการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(http://www.psu.ac.th)และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (http://www.ait.ac.th) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย(http://www.unimelb.edu.au) แต่ครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-up line) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้า และไม่เสถียร จนกระทั่ง ธันวาคม ปีพ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย 6 แห่ง เข้าด้วยกัน (Chula, Thammasat, AIT, Prince of Songkla, Kasetsart and NECTEC) โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า ไทยสาร(http://www.thaisarn.net.th) และขยายออกไปในวงการศึกษา หรือไม่ก็การวิจัย การขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนเดือนกันยายน ปี พ.ศ.2537 มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมถึง 27 สถาบัน และความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตของเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (http://www.cat.or.th) เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน สามารถเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP - Internet Service Provider) และเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป สามารถเชื่อมต่อ Internet ผ่านผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย
What is internet? (จาก doothai.com โดย สมฤดี บุญช่วยชู)
อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว (Global Network) ที่รวมผู้ใช้กว่า 60 ล้านคน เพื่อประกอบกิจกรรมหลากหลายตั้งแต่ การพูดคุย การสื่อสารข้อมูล การแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้ การค้าขายแบบอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาทางไกล ฯลฯ เมื่อครั้งที่อินเตอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นนั้น ไม่มีใครเคยคาดคิดว่ามันจะกลายมาเป็นเครือข่ายที่มีบทบาทกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน จนถึงขนาดที่กำลังจะปฏิวัติวิธีการดำเนินชีวิตของประชากรโลกในศตวรรษหน้า กล่าวคือเมื่อ 20 ปีก่อน กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้มีมติด่วนให้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า ARPANET จุดมุ่งหมายคือให้เป็นเครือข่ายที่มีความเชื่อถือได้สูง สามารถที่จะทำงานได้แม้ภายหลังที่อเมริกาถูกถล่มโดยอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมเครือข่าย ต้องมีความสามารถที่จะทำงานกับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เหลือจากการทำลายของอาวุธนิวเคลียร์ เช่น หากโครงข่ายโทรศัพท์ และ เคเบิลถูกทำลายในบางพื้นที่ เครือข่ายจะยังคงทำงานได้โดยการสลับมาใช้โครงข่ายอื่น เช่น โครงข่ายดาวเทียม หรือวิทยุ เป็นต้น นอกจากนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวต้องมีความสามารถในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภท และต่างรุ่นที่มีอยู่ทั่วไปตามฐานทัพต่าง ๆ
ในครั้งนั้นการพัฒนาเครือข่าย ARPANET ได้กระทำร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหม กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งหน่วยงานสำคัญ ๆ เช่นองค์การ NASA ทำให้ ARPANET เริ่มเติบโตโดยเริ่มมีการใช้งานมากขึ้นสำหรับการศึกษาและการวิจัย ถึงแม้จะเริ่มมีการพัฒนาเครือข่ายอื่น ๆ เช่น DECNET และ BITNET ขึ้นมาเป็นคู่แข่ง แต่เพราะข้อดีของ ARPANET ที่เป็นระบบเปิดที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP ทำให้ไม่จำกัดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือ โครงข่ายเชื่อม (Physical Links) แบบใดแบบหนึ่ง ทำให้มันเอาชนะคู่แข่งและกลายมาเป็นตัวเชื่อมเครือข่ายอื่น ๆ ที่เข้ากันไม่ได้ ให้สามารถคุยกันรู้เรื่อง ด้วยเหตุนี้ทำให้ ARPANET ถูกพัฒนามาเป็นเครือข่ายของเครือข่าย หรือ อินเตอร์เน็ต (internet) ในที่สุด ข้อดีของการที่เป็นระบบเปิด คือ สามารถใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อได้หลายแบบทั้ง ไมโครเวพ ดาวเทียม โทรศัพท์ เคเบิล ใยแก้วนำแสง หรือแม้แต่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ และสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบใดก็ได้ รวมทั้งยังบริหารง่ายคือ ผู้ใช้ออกค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนของตน ทำให้อินเตอร์เน็ตขยายตัวง่ายในขณะที่ความซับซ้อนของงานไม่เพิ่มขึ้นเท่าไรนัก ความง่ายในการขยายเครือข่ายและการใช้งาน ได้ทำให้อินเตอร์เน็ตเริ่มได้รับความนิยมนอกประเทศสหรัฐอเมริกา จนกลายมาเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงทั่วโลก
TCP/IP กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สื่อสารระหว่างกันโดยใช้ Transmission Control Protocol (TCP) และ Internet Protocol (IP) รวมเรียกว่า TCP/IP ข้อมูลที่ส่งจะถูกตัดออกเป็นส่วนๆ เรียก packet แล้วจ่าหน้าไปยังผู้รับด้วยการกำหนด IP Address เช่น สมมติเราส่ง e-mail ไปหาใครสักคน e-mail ของเราจะถูกตัดออกเป็น packet ขนาดเล็กๆ หลายๆ อัน ซึ่งแต่ละอันจะจ่าหน้าถึงผู้รับเดียวกัน packets พวกนี้ก็จะวิ่งไปรวมกับ packets ของคนอื่นๆ ด้วย ทำให้ในสายของข้อมูล packets ของเราอาจจะไม่ได้เรียงติดกัน packets พวกนี้จะวิ่งผ่าน ชุมทาง (gateway) ต่างๆ โดยตัว gateway (อาจเรียก router) จะอ่านที่อยู่ที่จ่าหน้า แล้วจะบอกทิศทางที่ไปของแต่ละ packet ว่าจะวิ่งไปในทิศทางไหน packet ก็จะวิ่งไปตามทิศทางนั้น เมื่อไปถึง gateway ใหม่ก็จะถูกกำหนดเส้นทางให้วิ่งไปยัง gateway ใหม่ที่อยู่ถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง เช่นเราติดต่อกับเครื่องในอเมริกา อาจจะต้องผ่าน gateway ถึง 10 แห่ง เมื่อ packet วิ่งมาถึงปลายทางแล้ว เครื่องปลายทางก็จะเอา packets เหล่านั้นมาเก็บสะสมจนกว่าจะครบ จึงจะต่อกลับคืนให้เป็น e-mail
TCP/IP ตัดข้อมูลออกเป็น packet เล็กๆ ส่งไปบนสายส่งข้อมูลที่ไปถึงปลายทางถูกจับมารวมกันอีกครั้ง
การที่ข้อมูลมีลักษณะเป็น packet ทำให้ในสายสื่อสารสามารถที่จะ ขนส่งข้อมูลโดยไม่ต้องจอง (occupies) สายไว้สายจึงสามารถใช้ร่วมกันกับข้อมูลที่ส่งจากเครื่องอื่นได้ ต่างจากโทรศัพท์ที่ขณะใช้งาน จะไม่มีใครใช้สายได้ ดังตัวอย่างในรูปข้าล่างนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ A และ C สื่อสารกันด้วย packet สีดำ ซึ่งใช้สายร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่ง packet ดังกล่าวอาจจะเป็นสัญญาณเสียง (เช่น Internet Phone) ซึ่งเมื่อ packet เดินทางมาถึงก็จะถูกจับมารวมกันให้เป็นเสียงของการพูดคุย ไม่เหมือนโทรศัพท์แบบปรกติ ที่ขณะใช้งานสาย จะไม่สามารถนำไปทำงานอื่น ๆ ได้อีก
2.4 อินทราเน็ตคืออะไร
อินทราเน็ต(Intranet) คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกันอินเทอร์เน็ต แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น เช่น อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง หรือระบบเครือข่ายมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศ เป็นต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเปิดบริการคล้ายกับอินเทอร์เน็ตเกือบทุกอย่าง แต่ยอมให้เข้าถึงได้เฉพาะคนในองค์กรเท่านั้น เป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งาน ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในองค์กร ก็คือ "อินทราเน็ต" นั่นเอง แต่ในช่วงที่ชื่อนี้ยังไม่เป็นที่นิยม ระบบอินทราเน็ต ถูกเรียกในหลายชื่อ เช่น Campus network, Local internet, Enterprise network เป็นต้น
อินทราเน็ตคืออะไร (จาก doothai.com)
ในยุคที่อินเตอร์เน็ตขยายตัวอย่างต่อเนื่อง บริษัทธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ เริ่มหันมาใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ต ในการโฆษณา การขายหรือเลือกซื้อสินค้าและชำระเงินผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในขณะที่องค์กรบางแห่งที่ไม่มุ่งเน้นการบริการข้อมูลอินเตอร์เน็ตระหว่างเครือข่าย ภายนอก แต่จัดสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสารภายในองค์กรและเปิดให้บริการในรูปแบบเดียวกับที่มีอยู่ในโลก ของอินเตอร์เน็ตจริง ๆ โดยมีเป้าหมายให้บริการแก่บุคลากร ในองค์กร จึงก่อให้เกิดระบบอินเตอร์เน็ตภายในองค์กร เรียกว่า "เครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet)" เครือข่ายอินทราเน็ตนั้น เริ่มเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในปี พ.ศ.2539 แต่แท้ที่จริงแล้วได้มีผู้ริเริ่มพูดถึงชื่อนี้ตั้งแต่ สี่ปีก่อนหน้าแล้ว หลังจากนั้นระบบอินทราเน็ตจึงได้ได้รับความนิยมมากขึ้น ในยุคแรก ๆ ระบบนี้มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น แคมปัสเน็ตเวิร์ก (Campus Network) โลคัลอินเตอร์เน็ต (Local Internet) เอนเตอร์ไพรท์เน็ตเวิร์ก (Enterprise Network) เป็นต้น แต่ที่รู้จักกันมากที่สุดคือชื่อ อินทราเน็ต ชื่อนี้จึงกลายเป็นชื่อยอดนิยมและใช้มาจนถึงปัจจุบัน
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินทราเน็ต ก็คือ การใช้งานของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตโดยจำกัดขอบเขตการใช้งาน ส่วนใหญ่อยู่เฉพาะภายในเครือข่ายของหน่วยงานเท่านั้น และนอกจากนี้ระบบ อินทราเน็ตยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตได้เช่นกัน ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานอินทราเน็ตสามารถใช้ทั้งอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กันได้ โดยทั่วไปอินทราเน็ตจะไม่เน้นการเชื่อมต่อไปสู่อินเตอร์เน็ตภายนอก เพื่อสืบค้นหรือใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายนอก หากแต่มุ่งหวังที่จะจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศภายในองค์กร ด้วยการจัดเตรียมคอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลในรูปแบบเดียวกับที่ใช้งานในอินเตอร์เน็ต และขยายเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปถึงบุคลากรทุกหน่วยงาน ให้สามารถ เรียกค้นข้อมูลและสื่อสารถึงกันได้ รูปแบบสำคัญที่มีในอินทราเน็ต คือ การใช้ระบบเวบเป็นศูนย์บริการข้อมูลและข่าวสารภายใน สามารถให้ข้อมูลได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อน ไหวและเป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการใช้งาน โดยได้ผนวกบริการข้อมูลอื่นรวมไว้ในตัวเช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การถ่ายโอนย้ายแฟ้มข้อมูล หรือกระดานข่าว เป็นต้น
อินทราเน็ตจะช่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเอกสารจากเดิมใช้วิธีทำสำเนาแจกจ่าย ไม่ว่าจะเป็นข่าว ประกาศ รายงาน สมุดโทรศัพท์ภายใน ข้อมูลบุคลากร มาจัดทำให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ แทน ผู้ใช้สามารถเรียกค้น ข้อมูลข่าวสารได้เมื่อต้องการ การประยุกต์ใช้อินทราเน็ตในหน่วยงานถือเป็นการปฏิรูปในองค์กรและก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการและขั้นตอนการทำงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ช่วยให้การดำเนินงานเป็น ไปได้อย่างคล่องตัว และลดค่าใช้จ่ายลงได้อย่างมาก หากมีการวางแผนงานและเทคโนโลยีที่เหมาะสมก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรให้สูงขึ้น เครือข่ายอินทราเน็ตที่ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยติดต่อกันผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้น เรียกว่าเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตสามารถมองเป็นส่วนหนึ่งของ เครือข่ายอินทราเน็ตที่สามารถติดต่อ ออกไปหน่วยงานต่าง ๆ นอกองค์กรได้ การที่ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อติดต่อกันแทนที่จะติดต่อกันโดยตรงระหว่างเครือข่ายอินทราเน็ตนั้นทำให้ประหยัด ค่าใช้จ่าย และสามารถใช้ข้อดีของบริการบนอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ตได้มีประโยชน์สูงสุด
ประโยชน์อินทราเน็ต (จาก doothai.com)
ประโยชน์ของการนำอินทราเน็ตเข้ามาประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน สามารถสรุปได้ดังนี้
1. การสื่อสารเป็นแบบสากล ผู้ใช้ระบบอินทราเน็ตสามารถส่งข่าวสารในรูปของ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมาตรฐานสากลระหว่างผู้ร่วมงานภายในหน่วยงานและผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งอยู่ภายนอกหน่วยงานได้
2. อินทราเน็ตใช้มาตรฐานเครือข่าย และโปรแกรมประยุกต์ได้เช่นเดียวกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีใช้อย่างแพร่หลาย และผ่านการยอมรับให้เป็นมาตรฐานตามความนิยมไปโดยปริยาย โดยมีทั้งผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เลือกใช้ได้หลากหลาย
3. การลงทุนต่ำ ด้วยความต้องการด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คล้ายคลึงกับที่ใช้ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกมากมายและราคาต่ำ จึงทำให้ค่าใช้จ่ายการวางระบบเครือข่ายต่ำกว่าเมื่อเทียบกับ ค่าใช้จ่ายที่ต้องลงทุนกับระบบอื่น ๆ
4. ความน่าเชื่อถือ เทคโนโลยีที่ใช้นั้นได้ผ่านการทดลองใช้และปรับปรุง จนกระทั่งอยู่ในสถานภาพที่มีความเชื่อถือได้สูง
5. สมรรถนะ สามารถสื่อสารข้อมูลรองรับการส่งข้อมูลที่ประกอบด้วย ข้อความ ภาพและเสียงได้
ในปัจจุบัน บริษัทธุรกิจชั้นนำในประเทศต่าง ๆ ได้นำเทคโนโลยีอินทราเน็ตมาประยุกต์ใช้ในองค์กรกันอย่างแพร่หลาย สำหรับอินทราเน็ตในประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงของการเริ่มต้น และการขยายแนวความคิดให้กับผู้บริหารองค์กร อีกทั้งองค์กรหลายแห่งยังคงไม่พร้อมทั้งด้านงบประมาณ และบุคลากรที่จะเชื่อมโยงสู่อินเตอร์เน็ตอย่างแท้จริง อินทราเน็ตจึงเป็นช่องทางในการพัฒนาและเตรียมความพร้อมในระยะแรก แต่ก็มีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก
ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
พ.ศ. 2530
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์? วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology หรือ AIT) ได้ติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ในการศึกษา โดยเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย? โดยใช้สายโทรศัพท์ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านทางโมเด็มด้วยระบบ MSHnet และ UUCP ?โดยประเทศออสเตรเลียเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการโทรทางไกลระหว่างประเทศวันละ 4 ครั้ง
พ.ศ. 2535
สำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่าย ?ไทยสาร (Thaisarn : Thai Social/scientific, Academic and Research Network)?? เพื่อพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศจำนวน 6 หน่วยงานเข้าด้วยกัน ซึ่งได้แก่
1. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (NECTEC)
2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
5. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2536 เครือข่ายไทยสารขยายขอบเขตบริการเข้าเชื่อมต่อกับสถาบันการศึกษา? และหน่วยงานของรัฐเพิ่มเป็น 19 แห่ง โดยทาง NECTEC? ได้ทำการเช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับส่งข้อมูล
พ.ศ. 2537
ประเทศไทยมีเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันทั้งสิ้น 35 เครือข่าย เป็นคอมพิวเตอร์รวมทั้งสิ้น 1,267 เครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งจัดได้ว่าประเทศไทยมีเครือข่ายใหญ่เป็นอันดับ 6 ในย่านเอเซียแปซิฟิก รองจากออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี และนิวซีแลนด์
ปัจจุบัน
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีการขยายตัวอย่างมากควบคู่ไปกับเครือข่ายไทยสาร และขยายตัวออกส่วนภูมิภาคแล้ว เครือข่ายของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่จะให้บริการเชิงธุรกิจ ส่วนเครือข่ายไทยสารยังคงให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐโดยไม่หวังผลกำไร
เครือบริการระบบอินเตอร์เน็ต
ข่
องค์กรที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีชื่อว่า
Internet Architecture Board หรือ IAB ซึ่งทำหน้าที่ควบคุม
ดูแลองค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตทั้งหมด รวมถึงประสานงานกับองค์การที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ
เช่น ISO และ ITU-T อีกด้วย IAB มีคณะทำงานอยู่ 2 คณะ คือ
1. Internet Engineering Task Force หรือ IETF
2. Internet Research Task Force หรือ IRTF ซึ่งจะทำหน้าที่จัดทำเอกสารกำหนดรายละเอียด
เกี่ยวกับโพรโตคอล
และมาตรฐานต่าง ๆ รวมถึงทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตอีกด้วย
ผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต (ISP)
ผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider หรือ ISP) หมายถึงหน่วยงานที่ให้บริการในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตต้องสมัครเป็นสมาชิก ISP ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายชั่วโมง รายเดือน หรือรายปี แล้วแต่จะตกลงกัน ตัวอย่างของผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แก่ Ji-net, A-Net Internet,
Internet KSC, Asia Net, Pacific Internet, Loxinfo และ CS Internet เป็นต้น
การตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต อาจพิจารณาจากเงื่อนไขดังต่อไปนี้ คือ
1. ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Reliability) เช่นชื่อเสียงทางธุรกิจของบริษัท จำนวนลูกค้าที่ใช้บริการของบริษัท เป็นต้น
2. ประสิทธิภาพของตัวระบบ (Performance) ซึ่งอาจดูได้จากการเชื่อมต่อง่าย รวดเร็ว และต่อเนื่องหรือไม่ เมื่อต่อแล้วสายโทรศัพท์หลุดบ่อยหรือไม่ การรับส่งข้อมูลสม่ำเสมอเพียงใด
3. มีบริการให้คำปรึกษาการใช้งาน (Technical Support)
4. เนื้อที่ในการให้บริการจัดเก็บข้อมูล เช่นอีเมล์ หรือไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาจากอินเตอร์เน็ต
5. โมเด็มหรือเบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการ ควรตรวจสอบดูว่ารองรับกับอุปกรณ์ที่เรามีอยู่หรือไม่
6. ค่าบริการ นับเป็นองค์ประกอบสำคัญซึ่งจะต้องดูว่าคุ้มค่ากับบริการท
ี่ได้รับหรือไม่
7. บริการเสริมต่าง ๆ
สิ่งที่ได้รับเมื่อสมัครเป็นสมาชิกจากผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
1. User Account ซึ่งประกอบด้วย Username และ Password เพื่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต
2. หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อใช้สำหรับหมุนโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
3. แผ่นดิสก์ หรือซีดีรอม เพื่อใช้ในการติดตั้งค่าในเครื่องคอมพิวเตอร์
4. คู่มือการใช้งาน
อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ควรเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่อยู่ในรูปแบบของข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และอื่น ๆ ดังนั้นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้งาน ควรมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้ คือ
1. เครื่องคอมพิวเตอร์?(Computer) ควรมีลักษณะดังนี้คือ
o หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ควรมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 233 เมกกะเฮิรตซ์ (MHz)
o หน่วยความจำสำรอง (Random Access Memory) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Ram ไม่ควรน้อยกว่า 32 เมกกะไบท์ (MB.)
o ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Hard Disk Drive) ไม่ควรมีขนาดน้อยกว่า 1.2 กิกะไบท์ (Gigabytes
2.โมเด็ม (Modem)? ถือเป็นหัวใจของการใช้งานอินเตอร์เน็ต ควรมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลไม่น้อยกว่า 28.8 Kbps (Kilobit per second) ปัจจุบันโมเด็มที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีขายตามท้องตลาดทั่วไปสามารถรับส่งข้อมูลได้ถึง 56 Kbps ซึ่งมีทั้งแบบติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Internal Modem) และแบบติดตั้งภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ (External Modem)
3.โทรศัพท์?(Telephone) เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยในการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต โดยสามารถใช้สายโทรศัพท์ที่เป็นโทรศัพท์บ้านสายตรง ต่อเข้ากับโมเด็มที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว
4.ซอฟต์แวร์ ในการใช้อินเทอร์เน็ตจะมีโปรแกรมที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ประเภทคือ 1.โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อเพื่อจัดการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอินเทอร์เน็ต ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Window 95 จะมีโปรแกรม dial-Up Networking ที่ใช้ในการสื่อสารอยู่แล้ว
2. โปรแกรมที่ใช้รับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เช่น Eudora
3. โปรแกรมที่ใช้ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เรียกกว่า บราวเซอร์ (Browser) เช่น Netscape Navigator, Internet Exploer
5.ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)
ผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นศูนย์บริการให้กับสมาชิก ซึ่งมีทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยศูนย์บริการเหล่านี้จะต้องเสียเงินค่าเช่าสายสัญญาณไปต่างประเทศให้กับรัฐ
ข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์
1. เว็บเพจ(Web Page) คือ ข้อมูลที่แสดงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นเอกสารที่สามารถเชื่อมโยงไปยังหน้า อื่น ๆ ได้
2. เว็บไซต์ (Web Site) คือ เว็บเพจทั้งหลายที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต และบรรจะไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ เช่น เว็บไซต์ www.google.com
3. โฮมเพจ (Home Page) คือ เว็บเพจหลักของเว็บไซต์ ภายในโฮมเพจจะมีจะเชื่อมต่อเปิดเข้าไปชม เว็บเพจอื่น ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์นี้ได้
4. โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ ในการเปิดเว็บเพจ และสามารถรับส่ง ไฟล์ทางอินเทอร์เน็ต โดยการแปลงภาษา HTML แล้วแสดงผลคำสั่งให้ออกมาเป็นรูปภาพเสียง และข้อมูล ต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันได้แก่ NCSA Mosaic, Netscape Navigator, Internet Explorer และ Opera
โปรแกรมที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ Internet Explorer
5. ภาษาHTML (Hyper TextMarkup Language) เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยสามารถใส่จุดเชื่อมโยง (Link) ไปยังเอกสารหน้าอื่น ๆ ซึ่งการเชื่อมโยงนี้ถูกเรียกว่า Hypertextหรือเอกสาร HTML ซึ่งเว็บเพจจะใช้รหัส คำสั่ง สำหรับควบคุมการแสดงผลข้อความ หรือรูปภาพในลักษณะต่าง ๆกันได้ โดยใช้สิ่งที่เรียกว่า แท็ก (Tag) ซึ่งแท็กจะกำหนด ให้เบราเซอร์แปลความหมายของรหัสคำสั่งดังกล่าว เป็นข้อมูลของเว็บเพจและคุณสมบัติ
พื้นฐานต่าง ๆ ด้วยนอกจากนี้ยังได้มีการนำเอาโค้ดภาษาโปรแกรมที่เรียกว่าสคริปต์ (Script) มาช่วยเพิ่ม ความสามารถ และสีสันให้เว็บเพจมากขึ้น
6. WYSIWYG (What-You-See-Is-What-You-Get) โปรแกรมแบบวิสสิวิกนี้ ใช้สร้างเว็บเพจโดยการนำรูปภาพ
หรือข้อความมาวางทับบนเว็บเพจ และเมื่อแสดงผลเว็บเพจ จะปรากฎหน้าเอกสารของเว็บเพจ เหมือนกับขณะที่
ทำการสร้าง การใช้งานจะใช้งานได้ง่ายกว่า การเขียนด้วยภาษา HTMLมาก โปรแกรมที่สามารถตอบสนอง การ
สร้างเว็บเพจแบบ WYSIWYG มีอยู่หลายโปรแกรมให้เลือกใช้เช่น FrontPage, Dreamweaver เป็นต้น
บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ที่เราสามารถค้นคว้า และรับส่งข้อมูลไปมา ระหว่างกันได้ อินเทอร์เน็ตจึงมีประโยชน์สำหรับยุคสังคมและข่าวสาร ในปัจจุบันอย่างมาก อินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่ เหมือนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ส่งข้อมูลที่เราต้องการมาให้ถึงบ้านหรือที่ทำงาน ภายในไม่กี่นาที จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก โดยจัดเป็นบริการในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
1. เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) คือบริการค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดีย บนอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศอาจจัดอยู่ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือ เสียงก็ได้ ข้อดีของบริการประเภทนี้คือ สามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น หรือเว็บไซด์อื่นได้ง่าย เพราะใช้วิธีการของไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) โดยมีการทำงานแบบไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูล จากเครื่องที่ให้บริการซึ่งเรียกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยอาศัยโปรแกรม ที่ใช้ดูข้อมูลเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ซึ่งผลที่ได้จะมีการแสดงเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งในปัจจุบันมีการผนวกรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรงตัวอย่างเช่น www.yahoo.com สามารถค้นหาและเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเรื่องราวต่างๆ เช่น การศึกษาการท่องเที่ยว โรงแรมต่าง ๆ การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เป็นต้น
2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “อีเมล์” (E-mail) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน และกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถส่งข้อความ ไปยังสมาชิกที่ติดต่อด้วย โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และสามารถแนบไฟล์ข้อมูลไปพร้อมกับจดหมายได้อีกด้วย การส่งจดหมายในลักษณะนี้ จะต้องมีที่อยู่เหมือนกับการส่งจดหมายปกติ แต่ที่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เราเรียกว่า E-mail Address
3. การโอนย้ายข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อีกรูปแบบหนึ่ง ใช้สำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ FTP Server การโอนย้ายไฟล์จาก FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้ เรียกว่า ดาวน์โหลด (Download) และการโอนย้ายไฟล์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ไปยังไปยัง FTP Server เรียกว่า อัพโหลด
4. การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) คือ บริการที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความที่ต้องการสืบค้น เข้าไป โปรแกรมจะทำการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ให้ภายในเวลาไม่กี่นาที โปรแกรมประเภทนี้เราเรียกว่าSearch Engines เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สามารถจำชื่อเว็บไซด์ บางเว็บได้ ก็สามารถใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล ในลักษณะนี้ได้ เว็บไซด์ที่ทำหน้าที่เป็น Search Engines มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น google.com , yahoo.com , sanook.com ฯลฯ เป็นต้น
5. การสนทนากับผู้อื่นบนอินเทอร์เน็ต จะคล้ายกับการใช้โทรศัพท์แต่แตกต่างกันที่ เป็นการสื่อสาร ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะใช้ไมโครโฟน และลำโพงที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ในการสนทนา
6. กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (News Group or Use Net) เป็นบริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นลงไปบริเวณกระดานข่าวได้ มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะสนใจเรื่องราวที่แตกต่างกันไป เช่นการศึกษา การท่องเที่ยว การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นต้น
7. การสื่อสารด้วยข้อความ IRC (Internet Relay Chat) เป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น โดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน ซึ่งจำนวนผู้ร่วมสนทนาอาจมีหลายคนในเวลาเดียวกัน ทุกคนจะเห็นข้อความ ที่แต่ละคนพิมพ์เหมือนกับว่ากำลังนั่งสนทนาอยู่ในห้องเดียวกัน โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารได้แก่โปรแกรม mIRC โปรแกรม PIRCH และโปรแกรม Comic Chat นอกจากโปรแกรม IRC แล้ว ในปัจจุบันนี้ภายในเว็บไซต์ ยังเปิดให้บริการห้องสนทนาผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ได้อีกด้วย
2.1 อินเทอร์เน็ต คืออะไร
อินเทอร์เน็ต(Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้มา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
IP (Internet protocal) Address
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน internet ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (Internet assigned number authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก เป็น Public address ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (Asia pacific network information center) แต่การขอ IP address ตรง ๆ จาก APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย Router ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง
ถ้าท่านมีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP address จาก ISP (Internet Service Provider) เพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่า Bandwidth เช่น 2 Mbps แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็จะได้ความเร็วในปัจจุบันไม่เกิน 56 Kbps ซึ่งเป็น speed ของ MODEM ในปัจจุบัน
IP address คือเลข 4 ชุด หรือ 4 Byte เช่น 203.158.197.2 หรือ 202.29.78.12 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นสถาบันการศึกษาโดยทั่วไปจะได้ IP มา 1 Class C เพื่อแจกจ่ายให้กับ Host ในองค์กรได้ใช้ IP จริงได้ถึง 254 เครื่อง เช่น 203.159.197.0 ถึง 203.159.197.255 แต่ IP แรก และ IP สุดท้ายจะไม่ถูกนำมาใช้ จึงเหลือ IP ให้ใช้ได้จริงเพียง 254 หมายเลข
1 Class C หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.255.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 254
1 Class B หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 66,534
1 Class A หมายถึง Subnet mask เป็น 255.0.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 16,777,214
2.2 ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
2.2.1 เป็นแหล่งข้อมูลที่ลึก และกว้าง เพราะข้อมูลถูกสร้างได้ง่าย แม้นักเรียน หรือผู้สูงอายุก็สร้างได้
2.2.2 เป็นแหล่งรับ หรือส่งข่าวสาร ได้หลายรูปแบบ เช่น mail, board, icq, irc, sms หรือ web เป็นต้น
2.2.3 เป็นแหล่งให้ความบันเทิง เช่น เกม ภาพยนตร์ ข่าว หรือห้องสะสมภาพ เป็นต้น
2.2.4 เป็นช่องทางสำหรับทำธุรกิจ สะดวกทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย เช่น e-commerce หรือบริการโอนเงิน เป็นต้น
2.2.5 ใช้แทน หรือเสริมสื่อที่ใช้ติดต่อสื่อสาร ในปัจจุบัน โดยเสียค่าใช้จ่าย และเวลาที่ลดลง
2.2.6 เป็นช่องทางสำหรับประชาสัมพันธ์สินค้า บริการ หรือองค์กร
2.3 ประวัติความเป็นมา
2.3.1 ประวัติในระดับนานาชาติ
- อินเทอร์เน็ต เป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2503(ค.ศ.1960)
- พ.ศ.2512(ค.ศ.1969) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีพ.ศ.2512 นี้เองได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลองแอนเจลิส สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีพ.ศ.2518(ค.ศ.1975) จึงเปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่ หน่วยงานการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ(Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก IAB(Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ใน Internet IETF(Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
- พ.ศ.2526(ค.ศ.1983) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform และสื่อสารกันได้ถูกต้อง
- การกำหนดชื่อโดเมน(Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ พ.ศ.2529(ค.ศ.1986) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย(Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2533(ค.ศ.1990) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ(National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
- ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ตัดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
2.3.2 ประวัติความเป็นมาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
- อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปีพ.ศ.2530(ค.ศ.1987) โดยการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(http://www.psu.ac.th)และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (http://www.ait.ac.th) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย(http://www.unimelb.edu.au) แต่ครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-up line) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้า และไม่เสถียร จนกระทั่ง ธันวาคม ปีพ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย 6 แห่ง เข้าด้วยกัน (Chula, Thammasat, AIT, Prince of Songkla, Kasetsart and NECTEC) โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า ไทยสาร(http://www.thaisarn.net.th) และขยายออกไปในวงการศึกษา หรือไม่ก็การวิจัย การขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนเดือนกันยายน ปี พ.ศ.2537 มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมถึง 27 สถาบัน และความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตของเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (http://www.cat.or.th) เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน สามารถเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP - Internet Service Provider) และเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป สามารถเชื่อมต่อ Internet ผ่านผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย
What is internet? (จาก doothai.com โดย สมฤดี บุญช่วยชู)
อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว (Global Network) ที่รวมผู้ใช้กว่า 60 ล้านคน เพื่อประกอบกิจกรรมหลากหลายตั้งแต่ การพูดคุย การสื่อสารข้อมูล การแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้ การค้าขายแบบอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาทางไกล ฯลฯ เมื่อครั้งที่อินเตอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นนั้น ไม่มีใครเคยคาดคิดว่ามันจะกลายมาเป็นเครือข่ายที่มีบทบาทกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน จนถึงขนาดที่กำลังจะปฏิวัติวิธีการดำเนินชีวิตของประชากรโลกในศตวรรษหน้า กล่าวคือเมื่อ 20 ปีก่อน กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้มีมติด่วนให้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า ARPANET จุดมุ่งหมายคือให้เป็นเครือข่ายที่มีความเชื่อถือได้สูง สามารถที่จะทำงานได้แม้ภายหลังที่อเมริกาถูกถล่มโดยอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมเครือข่าย ต้องมีความสามารถที่จะทำงานกับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เหลือจากการทำลายของอาวุธนิวเคลียร์ เช่น หากโครงข่ายโทรศัพท์ และ เคเบิลถูกทำลายในบางพื้นที่ เครือข่ายจะยังคงทำงานได้โดยการสลับมาใช้โครงข่ายอื่น เช่น โครงข่ายดาวเทียม หรือวิทยุ เป็นต้น นอกจากนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวต้องมีความสามารถในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภท และต่างรุ่นที่มีอยู่ทั่วไปตามฐานทัพต่าง ๆ
ในครั้งนั้นการพัฒนาเครือข่าย ARPANET ได้กระทำร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหม กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งหน่วยงานสำคัญ ๆ เช่นองค์การ NASA ทำให้ ARPANET เริ่มเติบโตโดยเริ่มมีการใช้งานมากขึ้นสำหรับการศึกษาและการวิจัย ถึงแม้จะเริ่มมีการพัฒนาเครือข่ายอื่น ๆ เช่น DECNET และ BITNET ขึ้นมาเป็นคู่แข่ง แต่เพราะข้อดีของ ARPANET ที่เป็นระบบเปิดที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP ทำให้ไม่จำกัดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือ โครงข่ายเชื่อม (Physical Links) แบบใดแบบหนึ่ง ทำให้มันเอาชนะคู่แข่งและกลายมาเป็นตัวเชื่อมเครือข่ายอื่น ๆ ที่เข้ากันไม่ได้ ให้สามารถคุยกันรู้เรื่อง ด้วยเหตุนี้ทำให้ ARPANET ถูกพัฒนามาเป็นเครือข่ายของเครือข่าย หรือ อินเตอร์เน็ต (internet) ในที่สุด ข้อดีของการที่เป็นระบบเปิด คือ สามารถใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อได้หลายแบบทั้ง ไมโครเวพ ดาวเทียม โทรศัพท์ เคเบิล ใยแก้วนำแสง หรือแม้แต่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ และสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบใดก็ได้ รวมทั้งยังบริหารง่ายคือ ผู้ใช้ออกค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนของตน ทำให้อินเตอร์เน็ตขยายตัวง่ายในขณะที่ความซับซ้อนของงานไม่เพิ่มขึ้นเท่าไรนัก ความง่ายในการขยายเครือข่ายและการใช้งาน ได้ทำให้อินเตอร์เน็ตเริ่มได้รับความนิยมนอกประเทศสหรัฐอเมริกา จนกลายมาเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงทั่วโลก
TCP/IP กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สื่อสารระหว่างกันโดยใช้ Transmission Control Protocol (TCP) และ Internet Protocol (IP) รวมเรียกว่า TCP/IP ข้อมูลที่ส่งจะถูกตัดออกเป็นส่วนๆ เรียก packet แล้วจ่าหน้าไปยังผู้รับด้วยการกำหนด IP Address เช่น สมมติเราส่ง e-mail ไปหาใครสักคน e-mail ของเราจะถูกตัดออกเป็น packet ขนาดเล็กๆ หลายๆ อัน ซึ่งแต่ละอันจะจ่าหน้าถึงผู้รับเดียวกัน packets พวกนี้ก็จะวิ่งไปรวมกับ packets ของคนอื่นๆ ด้วย ทำให้ในสายของข้อมูล packets ของเราอาจจะไม่ได้เรียงติดกัน packets พวกนี้จะวิ่งผ่าน ชุมทาง (gateway) ต่างๆ โดยตัว gateway (อาจเรียก router) จะอ่านที่อยู่ที่จ่าหน้า แล้วจะบอกทิศทางที่ไปของแต่ละ packet ว่าจะวิ่งไปในทิศทางไหน packet ก็จะวิ่งไปตามทิศทางนั้น เมื่อไปถึง gateway ใหม่ก็จะถูกกำหนดเส้นทางให้วิ่งไปยัง gateway ใหม่ที่อยู่ถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง เช่นเราติดต่อกับเครื่องในอเมริกา อาจจะต้องผ่าน gateway ถึง 10 แห่ง เมื่อ packet วิ่งมาถึงปลายทางแล้ว เครื่องปลายทางก็จะเอา packets เหล่านั้นมาเก็บสะสมจนกว่าจะครบ จึงจะต่อกลับคืนให้เป็น e-mail
TCP/IP ตัดข้อมูลออกเป็น packet เล็กๆ ส่งไปบนสายส่งข้อมูลที่ไปถึงปลายทางถูกจับมารวมกันอีกครั้ง
ซการที่ข้อมูลมีลักษณะเป็น packet ทำให้ในสายสื่อสารสามารถที่จะ ขนส่งข้อมูลโดยไม่ต้องจอง (occupies) สายไว้สายจึงสามารถใช้ร่วมกันกับข้อมูลที่ส่งจากเครื่องอื่นได้ ต่างจากโทรศัพท์ที่ขณะใช้งาน จะไม่มีใครใช้สายได้ ดังตัวอย่างในรูปข้าล่างนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ A และ C สื่อสารกันด้วย packet สีดำ ซึ่งใช้สายร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่ง packet ดังกล่าวอาจจะเป็นสัญญาณเสียง (เช่น Internet Phone) ซึ่งเมื่อ packet เดินทางมาถึงก็จะถูกจับมารวมกันให้เป็นเสียงของการพูดคุย ไม่เหมือนโทรศัพท์แบบปรกติ ที่ขณะใช้งานสาย จะไม่สามารถนำไปทำงานอื่น ๆ ได้อีก
2.4 อินทราเน็ตคืออะไร
อินทราเน็ต(Intranet) คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกันอินเทอร์เน็ต แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น เช่น อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง หรือระบบเครือข่ายมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศ เป็นต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเปิดบริการคล้ายกับอินเทอร์เน็ตเกือบทุกอย่าง แต่ยอมให้เข้าถึงได้เฉพาะคนในองค์กรเท่านั้น เป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งาน ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในองค์กร ก็คือ "อินทราเน็ต" นั่นเอง แต่ในช่วงที่ชื่อนี้ยังไม่เป็นที่นิยม ระบบอินทราเน็ต ถูกเรียกในหลายชื่อ เช่น Campus network, Local internet, Enterprise network เป็นต้น
อินทราเน็ตคืออะไร (จาก doothai.com)
ในยุคที่อินเตอร์เน็ตขยายตัวอย่างต่อเนื่อง บริษัทธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ เริ่มหันมาใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ต ในการโฆษณา การขายหรือเลือกซื้อสินค้าและชำระเงินผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในขณะที่องค์กรบางแห่งที่ไม่มุ่งเน้นการบริการข้อมูลอินเตอร์เน็ตระหว่างเครือข่าย ภายนอก แต่จัดสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสารภายในองค์กรและเปิดให้บริการในรูปแบบเดียวกับที่มีอยู่ในโลก ของอินเตอร์เน็ตจริง ๆ โดยมีเป้าหมายให้บริการแก่บุคลากร ในองค์กร จึงก่อให้เกิดระบบอินเตอร์เน็ตภายในองค์กร เรียกว่า "เครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet)" เครือข่ายอินทราเน็ตนั้น เริ่มเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในปี พ.ศ.2539 แต่แท้ที่จริงแล้วได้มีผู้ริเริ่มพูดถึงชื่อนี้ตั้งแต่ สี่ปีก่อนหน้าแล้ว หลังจากนั้นระบบอินทราเน็ตจึงได้ได้รับความนิยมมากขึ้น ในยุคแรก ๆ ระบบนี้มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น แคมปัสเน็ตเวิร์ก (Campus Network) โลคัลอินเตอร์เน็ต (Local Internet) เอนเตอร์ไพรท์เน็ตเวิร์ก (Enterprise Network) เป็นต้น แต่ที่รู้จักกันมากที่สุดคือชื่อ อินทราเน็ต ชื่อนี้จึงกลายเป็นชื่อยอดนิยมและใช้มาจนถึงปัจจุบัน
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินทราเน็ต ก็คือ การใช้งานของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตโดยจำกัดขอบเขตการใช้งาน ส่วนใหญ่อยู่เฉพาะภายในเครือข่ายของหน่วยงานเท่านั้น และนอกจากนี้ระบบ อินทราเน็ตยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตได้เช่นกัน ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานอินทราเน็ตสามารถใช้ทั้งอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กันได้ โดยทั่วไปอินทราเน็ตจะไม่เน้นการเชื่อมต่อไปสู่อินเตอร์เน็ตภายนอก เพื่อสืบค้นหรือใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายนอก หากแต่มุ่งหวังที่จะจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศภายในองค์กร ด้วยการจัดเตรียมคอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลในรูปแบบเดียวกับที่ใช้งานในอินเตอร์เน็ต และขยายเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปถึงบุคลากรทุกหน่วยงาน ให้สามารถ เรียกค้นข้อมูลและสื่อสารถึงกันได้ รูปแบบสำคัญที่มีในอินทราเน็ต คือ การใช้ระบบเวบเป็นศูนย์บริการข้อมูลและข่าวสารภายใน สามารถให้ข้อมูลได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อน ไหวและเป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการใช้งาน โดยได้ผนวกบริการข้อมูลอื่นรวมไว้ในตัวเช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การถ่ายโอนย้ายแฟ้มข้อมูล หรือกระดานข่าว เป็นต้น
อินทราเน็ตจะช่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเอกสารจากเดิมใช้วิธีทำสำเนาแจกจ่าย ไม่ว่าจะเป็นข่าว ประกาศ รายงาน สมุดโทรศัพท์ภายใน ข้อมูลบุคลากร มาจัดทำให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ แทน ผู้ใช้สามารถเรียกค้น ข้อมูลข่าวสารได้เมื่อต้องการ การประยุกต์ใช้อินทราเน็ตในหน่วยงานถือเป็นการปฏิรูปในองค์กรและก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการและขั้นตอนการทำงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ช่วยให้การดำเนินงานเป็น ไปได้อย่างคล่องตัว และลดค่าใช้จ่ายลงได้อย่างมาก หากมีการวางแผนงานและเทคโนโลยีที่เหมาะสมก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรให้สูงขึ้น เครือข่ายอินทราเน็ตที่ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยติดต่อกันผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้น เรียกว่าเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตสามารถมองเป็นส่วนหนึ่งของ เครือข่ายอินทราเน็ตที่สามารถติดต่อ ออกไปหน่วยงานต่าง ๆ นอกองค์กรได้ การที่ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อติดต่อกันแทนที่จะติดต่อกันโดยตรงระหว่างเครือข่ายอินทราเน็ตนั้นทำให้ประหยัด ค่าใช้จ่าย และสามารถใช้ข้อดีของบริการบนอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ตได้มีประโยชน์สูงสุด
ประโยชน์อินทราเน็ต (จาก doothai.com) ประโยชน์ของการนำอินทราเน็ตเข้ามาประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน สามารถสรุปได้ดังนี้
1. การสื่อสารเป็นแบบสากล ผู้ใช้ระบบอินทราเน็ตสามารถส่งข่าวสารในรูปของ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมาตรฐานสากลระหว่างผู้ร่วมงานภายในหน่วยงานและผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งอยู่ภายนอกหน่วยงานได้
2. อินทราเน็ตใช้มาตรฐานเครือข่าย และโปรแกรมประยุกต์ได้เช่นเดียวกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีใช้อย่างแพร่หลาย และผ่านการยอมรับให้เป็นมาตรฐานตามความนิยมไปโดยปริยาย โดยมีทั้งผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เลือกใช้ได้หลากหลาย
3. การลงทุนต่ำ ด้วยความต้องการด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คล้ายคลึงกับที่ใช้ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกมากมายและราคาต่ำ จึงทำให้ค่าใช้จ่ายการวางระบบเครือข่ายต่ำกว่าเมื่อเทียบกับ ค่าใช้จ่ายที่ต้องลงทุนกับระบบอื่น ๆ
4. ความน่าเชื่อถือ เทคโนโลยีที่ใช้นั้นได้ผ่านการทดลองใช้และปรับปรุง จนกระทั่งอยู่ในสถานภาพที่มีความเชื่อถือได้สูง
5. สมรรถนะ สามารถสื่อสารข้อมูลรองรับการส่งข้อมูลที่ประกอบด้วย ข้อความ ภาพและเสียงได้
ในปัจจุบัน บริษัทธุรกิจชั้นนำในประเทศต่าง ๆ ได้นำเทคโนโลยีอินทราเน็ตมาประยุกต์ใช้ในองค์กรกันอย่างแพร่หลาย สำหรับอินทราเน็ตในประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงของการเริ่มต้น และการขยายแนวความคิดให้กับผู้บริหารองค์กร อีกทั้งองค์กรหลายแห่งยังคงไม่พร้อมทั้งด้านงบประมาณ และบุคลากรที่จะเชื่อมโยงสู่อินเตอร์เน็ตอย่างแท้จริง อินทราเน็ตจึงเป็นช่องทางในการพัฒนาและเตรียมความพร้อมในระยะแรก แต่ก็มีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก
ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
พ.ศ. 2530
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์? วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology หรือ AIT) ได้ติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ในการศึกษา โดยเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย? โดยใช้สายโทรศัพท์ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านทางโมเด็มด้วยระบบ MSHnet และ UUCP ?โดยประเทศออสเตรเลียเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการโทรทางไกลระหว่างประเทศวันละ 4 ครั้ง
พ.ศ. 2535
สำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่าย ?ไทยสาร (Thaisarn : Thai Social/scientific, Academic and Research Network)?? เพื่อพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศจำนวน 6 หน่วยงานเข้าด้วยกัน ซึ่งได้แก่
1. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (NECTEC)
2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
5. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2536 เครือข่ายไทยสารขยายขอบเขตบริการเข้าเชื่อมต่อกับสถาบันการศึกษา? และหน่วยงานของรัฐเพิ่มเป็น 19 แห่ง โดยทาง NECTEC? ได้ทำการเช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับส่งข้อมูล
พ.ศ. 2537
ประเทศไทยมีเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันทั้งสิ้น 35 เครือข่าย เป็นคอมพิวเตอร์รวมทั้งสิ้น 1,267 เครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งจัดได้ว่าประเทศไทยมีเครือข่ายใหญ่เป็นอันดับ 6 ในย่านเอเซียแปซิฟิก รองจากออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี และนิวซีแลนด์
ปัจจุบัน
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีการขยายตัวอย่างมากควบคู่ไปกับเครือข่ายไทยสาร และขยายตัวออกส่วนภูมิภาคแล้ว เครือข่ายของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่จะให้บริการเชิงธุรกิจ ส่วนเครือข่ายไทยสารยังคงให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐโดยไม่หวังผลกำไร
เครือบริการระบบอินเตอร์เน็ตองค์กรที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีชื่อว่า
Internet Architecture Board หรือ IAB ซึ่งทำหน้าที่ควบคุม
ดูแลองค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตทั้งหมด รวมถึงประสานงานกับองค์การที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ
เช่น ISO และ ITU-T อีกด้วย IAB มีคณะทำงานอยู่ 2 คณะ คือ
1. Internet Engineering Task Force หรือ IETF
2. Internet Research Task Force หรือ IRTF ซึ่งจะทำหน้าที่จัดทำเอกสารกำหนดรายละเอียด
เกี่ยวกับโพรโตคอล
และมาตรฐานต่าง ๆ รวมถึงทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตอีกด้วย
ผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต (ISP)
ผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider หรือ ISP) หมายถึงหน่วยงานที่ให้บริการในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตต้องสมัครเป็นสมาชิก ISP ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายชั่วโมง รายเดือน หรือรายปี แล้วแต่จะตกลงกัน ตัวอย่างของผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แก่ Ji-net, A-Net Internet,
Internet KSC, Asia Net, Pacific Internet, Loxinfo และ CS Internet เป็นต้น
การตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต อาจพิจารณาจากเงื่อนไขดังต่อไปนี้ คือ
1. ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Reliability) เช่นชื่อเสียงทางธุรกิจของบริษัท จำนวนลูกค้าที่ใช้บริการของบริษัท เป็นต้น
2. ประสิทธิภาพของตัวระบบ (Performance) ซึ่งอาจดูได้จากการเชื่อมต่อง่าย รวดเร็ว และต่อเนื่องหรือไม่ เมื่อต่อแล้วสายโทรศัพท์หลุดบ่อยหรือไม่ การรับส่งข้อมูลสม่ำเสมอเพียงใด
3. มีบริการให้คำปรึกษาการใช้งาน (Technical Support)
4. เนื้อที่ในการให้บริการจัดเก็บข้อมูล เช่นอีเมล์ หรือไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาจากอินเตอร์เน็ต
5. โมเด็มหรือเบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการ ควรตรวจสอบดูว่ารองรับกับอุปกรณ์ที่เรามีอยู่หรือไม่
6. ค่าบริการ นับเป็นองค์ประกอบสำคัญซึ่งจะต้องดูว่าคุ้มค่ากับบริการท
ี่ได้รับหรือไม่
7. บริการเสริมต่าง ๆ
สิ่งที่ได้รับเมื่อสมัครเป็นสมาชิกจากผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
1. User Account ซึ่งประกอบด้วย Username และ Password เพื่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต
2. หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อใช้สำหรับหมุนโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
3. แผ่นดิสก์ หรือซีดีรอม เพื่อใช้ในการติดตั้งค่าในเครื่องคอมพิวเตอร์
4. คู่มือการใช้งาน
อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ควรเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่อยู่ในรูปแบบของข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และอื่น ๆ ดังนั้นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้งาน ควรมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้ คือ
1. เครื่องคอมพิวเตอร์?(Computer) ควรมีลักษณะดังนี้คือ
o หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ควรมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 233 เมกกะเฮิรตซ์ (MHz)
หน่วยความจำสำรอง (Random Access Memory) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Ram ไม่ควรน้อยกว่า 32 เมกกะไบท์ (MB.)
o ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Hard Disk Drive) ไม่ควรมีขนาดน้อยกว่า 1.2 กิกะไบท์ (Gigabytes
2.โมเด็ม (Modem)? ถือเป็นหัวใจของการใช้งานอินเตอร์เน็ต ควรมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลไม่น้อยกว่า 28.8 Kbps (Kilobit per second) ปัจจุบันโมเด็มที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีขายตามท้องตลาดทั่วไปสามารถรับส่งข้อมูลได้ถึง 56 Kbps ซึ่งมีทั้งแบบติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Internal Modem) และแบบติดตั้งภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ (External Modem)
3.โทรศัพท์?(Telephone) เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยในการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต โดยสามารถใช้สายโทรศัพท์ที่เป็นโทรศัพท์บ้านสายตรง ต่อเข้ากับโมเด็มที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว
ซอฟแวร์ที่จำเป็นสำหรับใช้งานบนระบบอินเทอร์เน็ต
1. โปรแกรมระบบปฎิบัติการ?(Operating System)?เป็นโปรแกรมที่สำคัญมากสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เพราะจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง ให้ทำงานอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ปัจจุบัน โปรแกรมระบบปฏิบัติที่นิยมใช้ได้แก่ Microsoft Windows ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ตั้งแต่ Windows 95, Windows 98, Windows ME และ Windows XP หรือซอฟท์แวร์ประเภท Shareware เช่น Linux ก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน
2.โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) ถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการเรียกดูข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ จะทำหน้าที่ในการแปลภาษาที่ใช้เขียนเว็บไซต์ ซึ่งได้แก่ภาษา HTML และ JAVA มาแสดงผลที่จอภาพได้ ให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต สามารถดูข้อมูลในรูปข้อความ และกราฟฟิก ได้ ปัจจุบันมีโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) มากมายที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตสามารถเลือกใช้ได้ เช่น Internet Explorer, Netscape Communicator, Opera, MSN Browser, Neo Planet เป็นต้น
3.โปรแกรมรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) โปรแกรมรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) เป็นโปรแกรมที่ใช้งานสำหรับการส่งจดหมายทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่ให้บริการฟรี โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเหล่านี้ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ของตนเอง เพียงแต่เข้าไปใช้บริการผ่านเว็บไซต์เหล่านั้นก็จะสามารถส่งจดหมายได้แล้ว อย่างไรก็ตาม การใช้บริการรับส่งจดหมายของบางหน่วยงานที่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง แล้วให้พนักงานรับส่งจดหมายผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน แต่ไม่มีบริการของโปรแกรมรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ ก็ต้องติดตั้งโปรแกรมรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไว้ที่คอมพิวเตอร์ของตนโดยเฉพาะ แล้วรับส่งจดหมายโดยผ่านโปรแกรมเหล่านั้น ซึ่งได้แก่ Microsoft Outlook, Microsoft Exchange และ Eudora เป็นต้น
4.ปรแกรมสำหรับการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งการติดต่อสื่อสารอาจเป็นในรูปแบบของการพิมพ์ข้อความคุยโต้ตอบกัน (Chat ) หรือพูดคุยกันโดยผ่านไมโครโฟนที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตก้าวหน้าไปมาก ทำให้สามารถให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถเห็นหน้าระหว่างพูดคุยกันได้ ซึ่งเรียกว่า Video Conference โปรแกรมที่ใช้สำหรับการสื่อสารเหล่านี้ ได้แก่ Microsoft Chat, ICQ, MSN Messenger, Pirch, Mirc, Yahoo Messenger เป็นต้น
5.โปรแกรมมัลติมีเดียบนอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันการใช้งานบนอินเตอร์เน็ตสามารถใช้งานได้หลากหลาย ทั้งภาพและเสียง รวมทั้งภาพเคลื่อนไหว ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้งานอินเตอร์เน็ตจึงต้องติดตั้งโปรแกรมประเภทนี้ไว้ เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลประเภทมัลติมิเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมเหล่านี้ได้แก่ Real Audio, Real Video, Windows Media Player เป็นต้น
ประเภทของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานเป็นสำคัญ เช่นใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลที่บ้าน ใช้ในเชิงธุรกิจ ใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้ภายในองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตจึงมีความแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความต้องการ รวมทั้งเงินทุนที่จะใช้ในการติดตั้งระบบด้วย ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่นิยมใช้มี 5 ลักษณะ คือ
1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up
เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต
ข้อดี ของการเชื่อมต่อแบบ Dial Up คือ
อุปกรณ์มีราคาถูก
การติดตั้งง่าย
การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทำได้ง่าย
ข้อเสีย คืออัตราการรับส่งข้อมูลค่อนข้างต่ำเพียงไม่เกิน 56 kbit (กิโลบิต) ต่อวินาที
2.?การเชื่อมต่อแบบ ISDN?(Internet Services Digital Network)
เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ
1. ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN
2. การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
3. ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ ISDN ได้หรือไม่
ข้อดี คือไม่มีสัญญาณรบกวน มีความเร็วสูง และยังคงสามารถใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยไปได้พร้อม ๆ กับการเล่นอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย คือมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบ Dial-Up
3.?การเชื่อมต่อแบบ DSL?(Digital Subscriber Line)
เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ
1. ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่
2. บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ DSL
3. การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ
4. ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือมีความเร็วสูงกว่าแบบ Dial-Up และ ISDN
ข้อเสีย คือไม่สามารถระบุความเร็วที่แน่นอนได้
4.?การเชื่อมต่อแบบ Cable
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
1. ใช้ Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ 2. ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือถ้ามีสายเคเบิลทีวีอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยเพิ่มอุปกรณ์ Cable Modem ก็สามารถเชื่อมต่อได้
ข้อเสีย คือถ้ามีผู้ใช้เคเบิลในบริเวณใกล้เคียงมาก อาจทำให้การรับส่งข้อมูลช้าลง
5.?การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites)
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
1. จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม
2. ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย ของการเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) ได้แก่
1. ต้องส่งผ่านสายโทรศัพท์เหมือนแบบอื่น ๆ
2. ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำมากเมื่อเทียบกับแบบอื่น ๆ
3. ค่าใช้จ่ายสูง
ป
การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือระบบเครือข่ายสากล ที่เกิดจากการรวมระบบเครือข่ายขนาดเล็กให้สื่อสาร และ แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ โดยเป็นเครือข่ายที่มีเทคโนโลยีระดับสูงซึ่งเปิดกว้างสู่สาธารณะอย่างแพร่หลาย หรืออาจกล่าวได้ว่า อินเตอร์เน็ตเป็นการผสมผสานกันของระบบเครือข่ายที่แตกต่างกันทั่วโลกให้เป็นหนึ่งเดียวกัน สำหรับ ผู้ใช้ส่วนใหญ่นั้นจะสามารถเข้าถึงและใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ โดยเชื่อมต่อผ่านทางโมเด็ม และสายโทรศัพท์ แต่ในความเป็นจริงนั้นเทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในเครือข่ายนี้มีอยู่มากมายหลากหลาย ซึ่งมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยจะประกอบไปด้วยเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) เกตเวร์ (Gateway) เราเตอร์ (Router) และสายสื่อสารเป็นจำนวนมากที่เชื่อมต่อสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ผู้ให้บริการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือ ISP (Internet Service Provider) นั้นเป็นเสมือนผู้จำหน่ายที่จัดให้มีเส้นทางเข้าไปสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดย ISP แต่ละแห่งจะมีช่องทางการเชื่อมต่อของตนเองอยู่กับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต ด้วยสายการสื่อสารความเร็วสูงเช่น T1 เป็นต้น แม้ว่าเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในระยะแรกจะอยู่บน พื้นฐานของการส่งข้อมูลที่เป็นข้อความ (Text) และรูปภาพ (Graphic) แต่ในปัจจุบัน ปริมาณและชนิดของข้อมูลบนเครือข่ายนี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ซึ่งมีทั้งภาพเคลื่อนไหวรูปแบบต่างๆ (Graphic Animation) ข้อมูลเสียง (Audio) และวีดิโอ (Video) เป็นต้น
การตั้งชื่อบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตสร้างขึ้นจากแนวความคิดที่มีแบบแผน โดยมีการออกแบบและจัดการโดเมน (Domain) อย่างเป็นระบบเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน และมีการเติบโตเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง Domain Name System (DNS) เป็นระบบจัดการแปลงชื่อไปเป็นหมายเลข IP address (name-to-IP address mapping) โดยมีโครงสร้างของฐาน ข้อมูลแบบสำดับชั้น (hierarchical) ที่ประกอบด้วย โดเมนระดับบนสุด (Top-level Domain) โดเมนระดับรอง (Second-level Domain) และโดเมนย่อย (Sub domain) ตัวอย่างเช่น www.gnu.org โดยที่ .org คือโดเมนระดับบนสุด ซึ่งแสดงถึงเป็นประเภทขององค์กรซึ่งไม่ได้ค้ากำไร .gnu คือโดเมนระดับรองซึ่งเป็นชื่อย่อของโครงการ GNU's Not Unix ซึ่งอยู่ภายใต้องค์กร Free Software Foundation (FSF) และภายใต้ชื่อโดเมนดังกล่าวอาจมีโดเมนย่อยอื่นๆ ได้อีกเป็นจำนวนมาก
ข้อกำหนดที่สำคัญของ DNS คือ ชื่อในโดเมนลำดับบนสุดนั้น ได้มีการกำหนดชื่อเฉพาะซึ่งระบุรายละเอียดของกลุ่มเอาไว้ชัดเจนแล้ว ดังนี้
.mil แทนกลุ่มของหน่วยงานทางทหารของสหรัฐเมริกา
.gov แทนกลุ่มของหน่วยงานของรัฐบาล
.com แทนกลุ่มขององค์กรหรือบริษัทเอกชน
.net แทนองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการเครือข่าย